วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

หลักการจ่ายยาที่ดี

หลักการจ่ายยาที่ดี


หลักการจ่ายยาที่ดี


การจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ ยาถูกต้อง จ่ายรวดเร็ว มีประสิทธิผลและไม่เกิดอันตรายจากการใช้ยาเภสัชกรมีหน้าที่ตามกฏหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพในอันที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาทราบถึงสาเหตุที่ต้องใช้ยา และทราบถึงข้อมูลที่สำคัญในการใช้ยาให้ได้ผลและปลอดภัย นั่นคือทราบวิธีใช้ การเก็บรักษา อาการข้างเคียงที่พบบ่อยและการหลีกเลี่ยง รวมทั้งต้องแน่ใจว่ายาที่ผู้ป่วยต้องใช้นั้นมีความจำเป็นและเหมาะสมในการรักษาภาวะผิดปกติในผู้ป่วยแต่ละราย
ประเด็นสำคัญของการรักษาด้วยยาคือ ต้องมีกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด ซึ่งประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของเภสัชกรซึ่งทำหน้าที่บริการผู้ใช้ยาหรือผู้ป่วย ในอันที่จะทำให้การใช้ยานั้นเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย มิใช่เกิดความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์หรือเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้อย่างไม่สมควร รวมทั้งคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยซึ่งแถลงร่วมกันโดยแพทยสภา, สภาการพยาบาล, สภาเภสัชกรรม, ทันตแพทยสภาและคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปในปี 2540 (1 ) เภสัชกรจึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานวิชาชีพให้สามารถรองรับความจำเป็นดังกล่าว
โดยข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2540(2) ซึ่งกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานของเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพให้เกิดความชัดเจนนั้น ได้กำหนดเรื่องการจ่ายยาไว้ในข้อ 4 ในเรื่องการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ และข้อ 5 การปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยาซึ่งผู้เขียนจะได้กล่าวในบทความต่อไป แต่ก่อนอื่นนั้นเรามารู้จักกันก่อนว่า การจ่ายยาคืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไร

การจ่ายยา
การจ่ายยา หมายถึง กระบวนการประเมินการสั่งใช้ยาหรือประเมินความจำเป็นในการใช้ยาและคัดสรรยาตามหลักการวิชาชีพให้มีความครบถ้วนเหมาะสม โดยพิจารณาจากประวัติการเจ็บป่วย ผลการวินิจฉัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฏหมายหรือระเบียบเพื่อดำเนินการเลือก, จัดเตรียมยา และอุปกรณ์จำเป็นอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งมอบแก่ผู้ป่วยแต่ละรายพร้อมคำแนะนำที่จะทำให้การใช้ยามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยมากที่สุด
การจ่ายยาที่ดีจะต้องจัดการให้ผู้ที่มารับบริการได้รับบริการตามสิทธิอันพึงได้รับตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อบังคับสภาเภสัชกรรมเป็นอย่างน้อย
การบริการเภสัชกรรมจะต้องมีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบการจ่ายยาตลอดเวลาให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและสิทธิของผู้ป่วย โดยพิจารณาหลักปฏิบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้

หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการจ่ายยา
1. เป้าหมายในการจ่ายยา
ให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สมควรหรือจำเป็นในการรักษา บรรเทาหรือป้องกันอาการ และสามารถใช้ยานั้นได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

2. หลักปฏิบัติในการจ่ายยาที่ดี2.1 ในการจ่ายยาควรมีข้อมูลผู้รับบริการประกอบการจ่ายยา ได้แก่อายุ น้ำหนัก การวินิจฉัยหรืออาการที่พบ เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินปัญหาเบื้องต้น เลือกยาหรือจัดยาและให้คำอธิบายความจำเป็นที่ต้องใช้ยา
2.2 การจ่ายยาทุกครั้ง ทุกขนาด เภสัชกรควรพิจารณาให้ผู้รับบริการสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและสะดวกเป็นประการสำคัญ โดยพร้อมที่จะเตรียมยาในรูปแบบหรือความแรงที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยเมื่อไม่มียาในลักษณะนั้นจำหน่าย หรือให้บริการ
2.3 เภสัชกรมีหน้าที่:
2.3.1 คัดกรองปัญหาของการใช้ยา
- การสั่งใช้ยาที่ระบุข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น การกำหนดขนาดหรือ ความแรงของยา, ระยะเวลาการใช้ หรือชื่อยาไม่ชัดเจน
- การใช้ยาซ้ำซ้อน
- การใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาที่มีนัยสำคัญ
- การใช้ยาที่ขัดกับกฎหมาย
- การใช้ยาโดยไม่มีความจำเป็น
- อันตรายจากการใช้ยา
2.3.2 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่จ่ายแก่ผู้ป่วยทุกราย ในประเด็นต่างๆ อย่างน้อยควรเป็นไปตามข้อบังคับของสภาเภสัชกรรมว่าด้วยการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งยา เน้นให้ความรู้เรื่องยาเพื่อป้องกันปัญหาจากการใช้ยา

3. ขั้นตอนในการจ่ายยาขั้นตอนที่ 1 ในกรณีที่มีใบสั่งยา
การรับใบสั่งยาและตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบสั่งยา
ข้อมูลส่วนประกอบของใบสั่งยา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1) ชื่อและสถานที่ตั้งของสถานพยาบาล
2) ชื่อ นามสกุล อายุ และเลขที่ของผู้ป่วย
3) วันที่ที่สั่งใช้ยา
4) ชื่อยาและความแรงของยา รูปแบบของยา
5) จำนวนหรือปริมาณยาหรือระยะเวลาที่ต้องการสั่งให้ผู้ป่วยในครั้งนั้น
6) วิธีใช้ยา
7) ลายมือชื่อแพทย์ผู้สั่งใช้ยา และ/หรือ เลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา
เพื่อช่วยคัดกรองโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย
1) ผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ยา เช่น แพ้ยา
2) ขนาดที่อยู่ในช่วงการรักษาตามอายุน้ำหนักของผู้ป่วย
3) ยาที่อาจซ้ำซ้อนโดยไม่เสริมฤทธิ์
4) ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาที่มีนัยสำคัญ
ขั้นตอนที่ 3 ในกรณีรับบริการจากเภสัชกรที่ร้านยา
ต้องมีหลักเกณฑ์ในการประเมินอาการเบื้องต้นและคัดเลือกยาให้เหมาะสมกับผู้มารับบริการแต่ละราย

ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำฉลากและจัดเตรียมยาอย่างมีคุณภาพ
1) ยาที่จ่ายต้องครบถ้วน มีฉลากถูกต้อง บรรจุในภาชนะที่เหมาะสมได้มาตรฐาน
2) ฉลากยาทุกขนานที่จ่ายควรพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์อย่างน้อยต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
(1) วันที่จ่ายยา
(2) เลขที่จ่ายยา หรือเลขที่ใบสั่งยา
(3) ชื่อผู้ป่วย
(4) ชื่อยา และความแรง และจำนวน
(5) วิธีใช้ยาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
(6) ฉลากช่วยคำแนะนำหรือคำเตือนที่จำเป็น
(7) ชื่อที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่จ่ายยา
นอกจากนั้น ควรมีชื่อแพทย์ผู้สั่งใช้ยาและเภสัชกรผู้จ่ายยาเพื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วย หรือเกิดความผิดพลาดที่เร่งด่วน
3) ตรวจสอบความถูกต้องของยาที่จัดเทียบกับคำสั่งใช้ยา

ขั้นตอนที่ 5 การจ่ายยาแก่ผู้ป่วย
เป็นหน้าที่ของเภสัชกรในการส่งมอบยาแก่ผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายเพิ่มความสามารถในการใช้ยาตามสั่ง ลดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และสืบหาอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเป็นปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยดำเนินการ
1) สำหรับผู้ป่วยที่เคยใช้ยาอยู่แล้ว คัดกรองปัญหา หรือย้ำความเข้าใจในเรื่อง
- การไม่ใช้ยาตามสั่ง ความเข้าใจในวิธีใช้ที่ถูกต้อง
- อาการข้างเคียงที่น่าจะเกิดแล้วรบกวนผู้ป่วย
โดยอาจใช้เทคนิคให้ผู้ป่วยสาธิตและบอกเล่า (Show and Tell) มาประยุกต์
2) ผู้ป่วยได้รับยาครั้งแรก ต้องให้ข้อมูลจำเป็นอย่างน้อยตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
3) ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของยาที่จะจ่ายแล้วส่งมอบแก่ผู้ป่วย
4) ให้ข้อมูลยาหรือบริการคำแนะนำปรึกษาด้านยา
5) ผู้ที่สมควรได้รับบริการจากแพทย์ต้องได้รับการส่งต่ออย่างเหมาะสม

หนึ่งมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยา

หนึ่งมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยา...

วารสารภูกามยาว ฉบับตีพิมพ์ เดือนธันวาคม 2552
จิรวัฒน์ รวมสุข; ผู้เขียน



 ขนาดยารับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ เราใช้ ช้อนแกง แทนได้ !?เป็นความเชื่อที่คนส่วนใหญ่คงคิดว่า ช้อนแกงที่เราใช้กินข้าวนั้นใช้แทนช้อนโต๊ะตามที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่จริงๆแล้วเมื่อลองวัดปริมาตร ขนาดยาจากช้อนโต๊ะมาตรฐานที่ได้รับจากร้านยาหรือโรงพยาบาลจะมากกว่าช้อนแกงถึง 2 เท่า ซึ่งหากคุณใช้ช้อนแกงจะทำให้คุณได้รับขนาดยาที่ต่ำเกินไป ผลการรักษาจึงไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากเป็นยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ก็อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และทำให้ต้องใช้ยาที่แรงกว่านี้ในอนาคต ดังนั้นจะช้อนชา หรือช้อนโต๊ะ เราก็ควรจะใช้ช้อนจากที่ได้รับในร้านยาหรือโรงพยาบาล หรือที่แนบมากับขวดยา
ซึ่งหลักในการตวงยาอย่างถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้
- 1 ช้อนชา คือ 5 ซีซี (cc) หรือ 5 มิลลิลิตร (5 ml)
- 1 ช้อนโต๊ะ คือ 15 ซีซี (cc) หรือ 15 มิลลิลิตร (15 ml)
- 1 ช้อนกินข้าวมีความจุเพียง 7.5 ซีซี (cc)
- 1 ช้อนกาแฟมีความจุเพียง 2.5 ซีซี (cc)

ฉะนั้นช้อนชาจึงไม่ใช่ช้อนกาแฟ และช้อนโต๊ะก็ไม่ใช่ช้อนแกง
หากกรณีที่ท่านทำช้อนโต๊ะหรือช้อนชามาตรฐานหล่นหาย
ก็ควรจะไปขอรับช้อนใหม่ได้ที่ร้านขายยาหรือสถานบริการทาง
การแพทย์ทั่วไป
"คุณเคยสงสัยไหมว่า...ในแต่ละครั้งที่คุณเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้ยา คุณใช้มันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ใช้อย่างถูกวิธีกันบ้างไหม บางคนได้ยินมาแบบนั้นก็เชื่อแล้วปฏิบัติตาม ก็อาจเกิดโทษได้หากเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาที่ถูกต้อง ผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง วันนี้ผมได้รวบรวมมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยาที่อาจไม่เหมาะสมนักมาให้ได้รับฟังกันครับ"...

 ฉีดยาดีกว่ากินยา !?
อืม..เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? ยารับประทานเป็นรูปแบบยาอันดับแรกที่มักพิจารณาเลือกใช้ เพราะบริหารง่ายและสามารถรักษาโรคได้เช่นเดียวกัน ส่วนยาฉีดใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยารับประทานได้หรือต้องการผลให้ระดับยาสูงขึ้นทันทีเท่านั้น จากกรณีศึกษาคุณยายท่านหนึ่ง เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆต้องไปหาหมอเพื่อฉีดยา แต่จริงๆแล้วหากไม่ได้เจ็บป่วยอะไรหมอจะพิจารณาให้ยารับประทาน แต่คุณยายก็ไม่ยอมอยากให้คุณหมอฉีดยาให้อีก หมอก็เลยฉีดให้จริง แต่น้ำเกลือเท่านั้น เชื่อไหมหลังจากนั้นคุณยายก็บอกว่าหายดีแล้ว จริงๆคงเป็นความรู้สึกทางใจและฤทธิ์ของยารับประทานนั่นเอง

 ยาแพงดีกว่ายาถูก !?ไม่จริงเสมอไป เพราะยาที่สามารถจัดจำหน่ายได้นั้นต้องผ่านการศึกษาด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ และที่สำคัญต้องผ่านการขึ้นทะเบียนยาโดยสำนักงานอาหารและยา ไม่ว่ายานั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด แต่ที่สำคัญคือเราใช้ยาถูกโรค ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกชนิดหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราหายจากโรคภัย ไข้เจ็บ
 เมื่ออาการหายก็ไม่ต้องรับประทานยาต่อ !?คงไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกโรค หากเราพิจารณากันให้ดีหลักการใช้ยาในการรักษามีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. การใช้เพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาตามอาการ หากอาการดีขึ้นก็สามารถหยุดได้ 2. การใช้เพื่อการรักษาโรคหรือกำจัดสาเหตุของโรค การใช้ยาตามระยะเวลากำหนด ขึ้นกับข้อมูลการศึกษาตามชนิดอาการหรือโรค ที่สำคัญคือโรคเรื้อรัง ตามชื่อก็บอกไว้แล้วว่าเรื้อรัง ย่อมรับประทานยาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง แม้ใช้ยาจนสามารถควบคุมอาการได้แล้วก็ตาม การหยุดยาเองอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมา คือโรคไม่หายขาด หรืออาการอาจกำเริบขึ้นได้อีก

จากสิ่งที่นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นมุมมองที่หลายคนอาจจะยึดติดหรือยังไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นในการใช้ยา ให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ท้ายนี้หากมีปัญหาเรื่องการใช้ยา อย่าลืมเรียกหาเภสัชกรนะครับ.....

Vancouver Style

การเขียนเอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style)

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ใช้ในวารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป มักนิยมใช้การอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ในปัจจุบัน International Committee of Medical Journal Editor ยังคงแนะนำให้ใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ แต่เพิ่มเติมรายละเอียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในการอ้างถึงเอกสารวิชาการรูปแบบแวนคูเวอร์ ให้เรียงลำดับของเอกสาร ตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงในเนื้อหารายงานหรือบทความ และหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อเรื่องนั้น จะต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปจนถึงเลขที่สุดท้าย (1, 2, 3,…) ให้เขียนหมายเลขอยู่ในวงเล็บ ( ) ต่อท้ายข้อความที่นำมาอ้างอิงในรายงาน

ประเภทของเอกสารวิชาการที่นำมาอ้างอิง
ประเภทและที่มาของเอกสารวิชาการที่จะนำมาอ้างอิง จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในการเขียนเอกสารอ้างอิง
1. บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน (Standard journal article)
ส่วนสำคัญที่ต้องลงในรายการเอกสารอ้างอิง คือ
- ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors)
- ชื่อบทความ (Title)
- ชื่อวารสาร (Title of journal)
- ปีที่ตีพิมพ์ (Year)
- ปีที่ของวารสาร (Volume)
- เล่มที่ (Issue number)
- หน้า (Pages)

1.1 ผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน
ตัวอย่างการเขียน1. Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV-infected patients. N Engl J Med. 2002; 347(4):284-7.
2. อภิชาต โอฬารรัตนชัย, ธีระพร วุฒยวนิช. การสร้างช่องคลอดเทียมโดยอาศัยเยื่อถุงน้ำคร่ำ. เชียงใหม่เวชสาร 2532; 29:129-136.


รายชื่อผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษ ให้เรียงตามลำดับ โดยเริ่มจาก นามสกุล แล้วตามด้วยชื่อ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอนต่อท้ายนามสกุล ใช้เครื่องหมาย , หลังชื่อทุกคน ถ้าผู้นิพนธ์มีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วยคำว่า “et al.”

1.2 ผู้นิพนธ์เป็นคณะบุคคล
ตัวอย่างการเขียน
1. Diabetes Prevention Program Research Group. Hypertension, insulin, and proinsulin in participants with impaired glucose tolerance. Hypertension. 2002; 40(5):679-86.

1.3 ไม่ปรากฏชื่อผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. 21st century heart solution may have a sting in the tail. BMJ. 2002; 325(73):184.
2. หนังสือ

2.1 ผู้นิพนธ์คนเดียว
ตัวอย่างการเขียน
1. Murray PR. Medical microbiology. 4th ed. St. Louis: Mosby; 2002.
2. เกษม วัฒนชัย. การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง (Clinical management of essential hypertension). กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา; 2532.


2.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ผู้รวบรวม หรือประธานเป็นผู้แต่ง
ตัวอย่างการเขียน
1. Gilstrap LC, Cunningham FG, VanDorsten JP, editors. Operative obstetrics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2002.
2. วีระพล จันทร์ดียิ่ง, สนทิศ สุทธิจำรูญ, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยาเด็กและหญิงวัยรุ่นสาว. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2531.

2.3 บทหนึ่งในหนังสือ
ตัวอย่างการเขียน
1. Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors. The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 93-113.
2. ประสงค์ ตู้จินดา. บทนำและประวัติทางการแพทย์เกี่ยวกับทารกแรกเกิด. ใน: ประพุทธ ศิริปุณย์ อุรพล บุญประกอบ. (บรรณาธิการ) ทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. หน้า 1-6.


2.4 หน่วยงานเป็นผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Royal Adelaide Hospital; University of Adelaide, Department of Clinical Nursing. Compendium of nursing research and practice development, 1999-2000. Adelaide (Australia): Adelaide University; 2001.

3. เอกสารอื่นๆ

3.1 วิทยานิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Cairina RB. Infrared spectroscopic studies of solid oxygen (Dissertation). Berkeley, University of California; 1995. 156p.
2. สมภพ บุญทิม. ผลทางไซโตเจเนติกของสารคดี จากไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) ต่อโครโมโซมของมนุษย์ที่เตรียมจากลิมฟ์โฟซัยที่เพาะเลี้ยง. (วิทยานิพนธ์) เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2533. 75 หน้า.


3.2 บทความในเอกสารการประชุมวิชาการ
ตัวอย่างการเขียน
1. Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza's computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming. EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p.182-91.
2. ประมวล วีรุตมเสน. การปฏิสนธินอกร่างกาย และการย้ายฝากตัวอ่อนในคน. ใน : อุกฤษต์ เปล่งวาณิช, เสบียง ศรีวรรณบูรณ์, มลินี มาลากุล, บรรณาธิการ. การประชุมใหญ่ทางวิชาการฉลอง 100 ปี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 5-7.


3.3 เอกสารรวบรวมจากการประชุมวิชาการที่จัดพิมพ์ตามหลังการประชุม
ตัวอย่างการเขียน
1. Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York: Springer; 2002.

4. แหล่งข้อมูลอิเลคโทรนิก
4.1 CD-ROM
ตัวอย่างการเขียน
1. Anderson SC, Poulsen KB. Anderson's electronic atlas of hematology [CD-ROM]. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.
4.2 Journal article on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [serial on the Internet]. 2002 Jun [cited 2002 Aug 12];102(6):[about 3 p.]. Available from: http://www.nursingworld.org/AJN/2002/june/Wawatch.htm
4.3 Monograph on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.nap.edu/books/0309074029/html/

4.4 Homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01 [updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.cancer-pain.org/

4.5 Part of a homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. American Medical Association [homepage on the Internet]. Chicago: The Association; c1995-2002 [updated 2001 Aug 23; cited 2002 Aug 12]. AMA Office of Group Practice Liaison; [about 2 screens]. Available from: http://www.ama-assn.org/ama/pub/category/1736.html

4.6 Database on the Internet ase:
ตัวอย่างการเขียน
Open database:
1. Who's Certified [database on the Internet]. Evanston (IL): The American Board of Medical Specialists. c2000 - [cited 2001 Mar 8]. Available from: http://www.abms.org/newsearch.asp
Closed database:
1. Jablonski S. Online Multiple Congential Anomaly/Mental Retardation (MCA/MR) Syndromes [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US). c1999 [updated 2001 Nov 20; cited 2002 Aug 12]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/jablonski/syndrome_title.html


4.7 Part of a database on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. MeSH Browser [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); 2002 - [cited 2003 Jun 10]. Meta-analysis; unique ID: D015201; [about 3 p.]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/MBrowser.html Files updated weekly.


Reference:
1. International Committee of Medical Journal Editors. Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Sample References [monograph on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated July 9, 2003; cited 2005 Mar 3]. [about 7 screens]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html


ที่มา;สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค http://dr-pooh2.blogspot.com/2010_03_01_archive.html

ข้าวผัดกุ้ง

ข้าวผัดกุ้ง
* ข้าวสวย 3 ถ้วงตวง
* กุ้งขนาดปานกลาง 12 ตัว (ล้างและปอกเปลือก)
* กระเทียมหั่นละเอียด 3 กลีบ
* พริกขี้หนูหั่นละเอียด 1/2 เม็ด (กรณีชอบรสจัด)
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
* ไข่ไก่ 2 ฟอง
* ต้นหอมซอยละเีอียด 3 ต้น
* ใบผักชี 1/2 ถ้วยตวง
* แตงกวา 1 ลูก (หั่นเป็นชิ้น)
* มะนาว 1/2 ลูก (หั่นเป็นเสี้ยว)
* มะเขือเทศ 1 ลูก (หั่นเป็นชิ้นๆ)
พริกน้ำปลา
ข้าวผัดกุ้ง
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ใส่น้ำมันในกระทะและนำไปตั้งไฟปานกลาง ใส่กระเทียมและพริกลงไปผัดจนเริ่มหอม (ประมาณ 1 นาที)
2. ใส่กุ้งลงไปในกระทะและผัดจนสุก
3. ใช้ตะหลิวย้ายส่วนผสมที่อยู่ในกระทะไปด้านข้าง แล้วตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ใช้ตะหลิวเขี่ยไข่แดงให้แตก รอจนไข่เริ่มสุกให้ใส่ข้าวสวยลงไป และผัดทุกอย่างในกระทะให้เข้ากัน
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา และใส่มะเขือเทศลงไป ผัดต่ออีก 1-2 นาทีจึงปิดไฟ ก่อนเสิรฟโรยหน้าข้าวผัดด้วยต้นหอมซอยและผักชี จัดข้างจานด้วยแตงกวาซอยและมะนาวที่หั่นเป็นเสี้ยวไว้แล้ว เสิรฟพร้อมพริกน้ำปลา
(สำหรับ 2 ท่าน)

พะแนงเนื้อ

พะแนงเนื้อ

* เนื้อวัว 400 กรัม (หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ)
* น้ำพริกแกงพะแนง 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
* กะทิ 150 กรัม
* น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* ใบโหระพา 10 ใบ
* พริกชี้ฟ้า 2 เม็ด (หั่นตามแนวขวาง)
* ใบมะกรูด 3 ใบ (ซอยละิีเอียด)
ใบมะกรูดซอยละเอียด
พะแนงเนื้อ
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. นำเครื่องแกงไปผัดกับน้ำมันประมาณ 1 นาที จากนั้นจึงใส่กระทิลงไปและต้มต่อไปจนเดือด
2. ใส่เนื้อวัว แล้วจึงปรุงรสด้วยน้ำตาลและน้ำปลา
3. เมื่อเนื้อสุกดีแล้ว จึงใส่ใบโหระพา, พริกและใบมะกรูด คนต่อไปอีกสักพัก ตักใส่ถ้วยและเสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)

ต้มข่าไก่


* เนื้ออกไก่ 3 ชิ้น (หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ)
* กะทิ 2 ถ้วยตวง
* น้ำซุปไก่ 1 ถ้วยตวง
* ข่าขนาดกลาง 2-3 ชิ้น (ปอกเปลือกและหั่นบางๆ)
* พริกขี้หนูซอยละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
* น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
* น้ำตาล 1 ช้อนชา
* ใบผักชี 1/2 ถ้วยตวง (สำหรับแต่งหน้า)

สมุนไพรไทย : ข่า
ต้มข่าไก่
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ใส่กะทิและน้ำซุปไก่ลงในหม้อและนำไปตั้งไฟร้อนปานกลาง
2. ต้มประมาณ 8 นาที และคนเป็นครั้งคราว
3. ใส่เนื้อไก่และพริกลงไปในหม้อ ต้มต่อไปอีกประมาณ 6 นาที คนต่อไปจนเนื้อไก่สุกดี
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล จากนั้นใส่ผักชีแล้วจึงเสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)

ทอดมันปลา

ทอดมันปลา
* เนื้อปลาสับหรือบด 500 กรัม
* ไข่ไก่ 1 ฟอง
* ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วยตวง (หั่นเป็นชิ้นบาง)
* ใบมะกรูดซอยละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ
* น้ำตาล 1 ช้อนชา
* เกลือ 1 ช้อนชา
* น้ำพริกแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมันสำหรับทอด 3 ถ้วยตวง

เครื่องปรุง + ส่วนผสมน้ำจิ้มทอดมัน
     * แตงกวาหั่นเป็นชิ้นเล็ก 1 ถ้วยตวง
     * ถั่วลิสงคั่วแล้วนำไปบด 1/2 ถ้วยตวง
     * น้ำตาล 1/2 ถ้วยตวง
     * น้ำส้มสายชู 1/2 ถ้วยตวง
ถั่วฝักยาว
ทอดมันปลา
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. นำส่วนผสมทอดมันทั้งหมดลงในชามขนาดใหญ่ นวดด้วยมือจนส่วนผสมทั้งหมดเคล้ากันทั่ว
2. นำช้อนตักส่วนผสมออกมา 2 ช้อนโต๊ะ และปั้นเป็นแผ่นกลม (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว) ปั้่นจนส่วนผสมหมด แล้วจึงจากนั้นจึงนำไปทอดในน้ำมันที่ร้อนปานกลาง จนกระทั่งสุก
3. เสิรฟพร้อมน้ำจิ้มแตงกวา

วิธีทำน้ำจิ้มทอดมัน :
     1. ผสมน้ำตาลกับน้ำส้มสายชูลงในหม้อเ็ล็ก และนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ
     2. เมื่อน้ำตาลละลายแล้ว จึงปิดไฟและทิ้งไว้ให้เย็น
     3. ตักใส่ถ้วยน้ำจิ้ม ใส่แตงกวาและถั่วลิสงบด
(สำหรับ 2 ท่าน)

ส้มตำไทย

สูตรอาหารไทย : ส้มตำไทย
* มะละกอดิบหั่นฝอย 2 ถ้วยตวง
* แครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
* ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วยตวง (หั่นความยาวประมาณ 1" )
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
   (ถ้าไม่มีสามารถใช้น้ำตาลทรายแทนได้)
* น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
* มะเขือเทศ 1/2 ถ้วยตวง (หั่นครึ่ง)
* กุ้งแห้ง 1/3 ถ้วยตวง
* ถั่วลิสง 1/4 ถ้วยตวง
* พริกขี้หนู 10 เม็ด (ปรับเพิ่ม/ลด ตามความต้องการ)
* กระเทียมสด 5 กลีบ
ข้าวเหนียว
ส้มตำไทย
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ใส่กระเทียมและพริกลงในครก ใช้สากตำพอแหลก จึงใส่กุ้งแห้งและตำต่อไปอีกสักพัก
2. ใส่น้ำตาลปี๊บ ตำต่อจนน้ำตาลละลาย จึงใส่มะละกอฝอย, แครอทฝอย, ถั่วฝักยาว, มะเขือเทศ, ถั่วลิสง ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำมะนาว จากนั้นจึงตำต่อจนส่วนผสมทั้งหมดเคล้ากันทั่ว
3. ปรุงรสให้ถูกปากด้วย น้ำตาล, น้ำปลา หรือน้ำมะนาวเพิ่ม รสดั้งเดิมจะมีรสหวาน, เผ็ด และเปรี้ยวพอๆกัน
4. ตักใส่จานและโรยหน้าด้วยถั่วลิสง เสิรฟพร้อมผักสด (กะหล่ำปลี, ถั่วฝักยาว, ผักบุ้งไทย, อื่นๆ) และข้าวเหนียวร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)

ผัดไทยกุ้งสด

อาหารไทย : ผัดไทยกุ้งสด
* กุ้งสด 12 ตัว (ทำความสะอาด, ปอกเปลือก)
* เส้นจันท์ (หรือเส้นเล็ก) 90 กรัม
* ถั่วงอก 50 กรัม
* ใบกุ้ยช่าย 2 ช้อนโต๊ะ (หั่นให้มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว)
* น้ำปลา 6 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมันหอย 6 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมะขาม 3 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำส้มสายชู)
* น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
* หัวไชโป้ว 2 ช้อนโต๊ะ
* ถั่วลิสงบด 2 ช้อนโต๊ะ
* ไข่ 2 ฟอง
* พริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ (ถ้าชอบรสจัด)
* มะนาว 1/2 ลูก
ถั่วงอกสด
อาหารไทย : ผัดไทยกุ้งสด
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. กรณีใช้เส้นชนิดแห้ง ให้นำเส้นไปแช่น้ำธรรมดา (อุณหภูมิห้อง) ประมาณ 30 นาที
2. ตั้งกระทะบนไฟปานกลาง ใส่กุ้งลงไปผัดจนเริ่มสุก ตอกใส่ไข่ลงไปในกระทะ ใช้ตะหลิวเขี่ยให้ไข่แดงแตก พอไข่เริ่มสุก ใส่เส้น, น้ำตาล, ถั่วลิสงและ หัวไชโป้ว ผัดจนเส้นเริ่มนุ่มและเครื่องปรุงทั้งหมดผสมกันทั่ว
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมันหอย และน้ำมะขาม (หรือน้ำส้มสายชู) ใส่ถั่วงอก, หัวไชโป้วและพริกป่น (ถ้าชอบรสจัด) ผัดอย่างรวดเร็วให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันทั่ว ตักใส่จาน จัดแต่งด้วยถั่วงอกสด, พริกป่น, และมะนาว ข้างจาน ควรเสิรฟขณะยังร้อน
(สำหรับ 2 ท่าน)

แกงเผ็ดเป็ดย่าง

อาหารไทย : แกงเขียวหวาน
* เนื้อไก่ 350 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็ก พอดีคำ)
* กะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง
* ใบโหระพา 1/4 ถ้วยตวง
* มะเขือเปราะ 2 ลูก (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)
* น้ำุซุปไก่ 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำตาลทรายธรรมดา)
* น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด (หั่นเฉียง)
* ใบมะกรูด 4 ใบ
มะเขือเปราะ
อาหารไทย : แกงเขียวหวาน
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ตั้งกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (กระทิส่วนที่เหลือไว้ค่อยใช้ในขั้นตอนต่อไป) บนกระทะจนร้อน (ใช้ไฟปานกลาง) คนจนกระทิเดือดประมาณ 3 - 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปผัดกับกระทิสักพักจนน้ำกระทิงวดลง จึงเทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อใหญ่
2. นำหม้อใบใหญ่ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนื้อไก่และคนประมาณ 2 นาที จากนั้นใส่น้ำปลา, น้ำตาล คนต่อไปอีก 1 นาที ใส่มะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว ใส่น้ำกระทิที่เหลือและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพักจนเนื้อไก่เริ่มสุก และมะเขือเปราะนิ่ม
3. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิรฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ และพริกน้ำปลา
หมายเหตุ : แกงเขียวหวานนอกจากจะนิยมรับประทานกับข้าวสวยแล้ว ยังนิยมทานกับขนมจีนอีกด้วย . . .
(สำหรับ 2 ท่าน)

แกงเขียวหวาน

แกงเขียวหวาน

อาหารไทย : แกงเขียวหวาน
* เนื้อไก่ 350 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็ก พอดีคำ)
* กะทิ 1 1/4 ถ้วยตวง
* ใบโหระพา 1/4 ถ้วยตวง
* มะเขือเปราะ 2 ลูก (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ)
* น้ำุซุปไก่ 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำตาลทรายธรรมดา)
* น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกชี้ฟ้าแดง 2 เม็ด (หั่นเฉียง)
* ใบมะกรูด 4 ใบ
มะเขือเปราะ
อาหารไทย : แกงเขียวหวาน
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ตั้งกะทิ 1/2 ถ้วยตวง (กระทิส่วนที่เหลือไว้ค่อยใช้ในขั้นตอนต่อไป) บนกระทะจนร้อน (ใช้ไฟปานกลาง) คนจนกระทิเดือดประมาณ 3 - 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปผัดกับกระทิสักพักจนน้ำกระทิงวดลง จึงเทส่วนผสมทั้งหมดลงในหม้อใหญ่
2. นำหม้อใบใหญ่ตั้งไฟปานกลาง ใส่เนื้อไก่และคนประมาณ 2 นาที จากนั้นใส่น้ำปลา, น้ำตาล คนต่อไปอีก 1 นาที ใส่มะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว ใส่น้ำกระทิที่เหลือและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพักจนเนื้อไก่เริ่มสุก และมะเขือเปราะนิ่ม
3. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ตักใส่ถ้วยเสิรฟพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ และพริกน้ำปลา
หมายเหตุ : แกงเขียวหวานนอกจากจะนิยมรับประทานกับข้าวสวยแล้ว ยังนิยมทานกับขนมจีนอีกด้วย . . .
(สำหรับ 2 ท่าน)

ผัดกระเพาะไก่

ผัดกะเพราไก่+ไข่ดาว

* เนื้อไก่ 450 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พอดีำคำ)
* กระเทียม 5 กลีบ (สับให้ละเอียด)
* หัวหอมใหญ่ 1/2 ถ้วยตวง (หั่นเป็นชิ้นบางๆ)
* น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
* ซิอิ๊วดำ 2 ช้อนชา
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* ใบกะเพรา 1 ถ้วยตวง
* พริก 7 เม็ด (ทุบพอแหลกและสับหยาบๆ)
* พริกไทยป่น
หมายเหตุ : สามารถใส่ผักอื่นๆลงไปผัดร่วมด้วยเช่น แครอท, ถั่วฝัก, ข้าวโพดอ่อน เป็นต้น
ใบกะเพรา
ผัดกะเพราไก่+ไข่ดาว
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ตั้งน้ำมันในกระทะจนร้อน จากนั้นใส่กระเทียมและผัด 5-10 วินาที ใส่หอมใหญ่ และผัดต่อไปอีกสักพักจนกลิ่นเริ่มหอม ใส่เนื้อไก่ลงต่อและผัดจนเนื้อไก่สุกทั่ว
2. ใส่พริกและซิอิ๊วดำลงไปในกระทะ ผัดต่อไปอีก 15-20 วินาที
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา และใส่ใบกะเพราลงไปในกระทะ ปิดไฟจากนั้นผัดให้กะเพราผสมกับเนื้อไก่่่จนทั่ว ตักใส่จาน ก่อนเสิรฟโรยหน้าด้วยพริกไทย เสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ ในบางครั้งไข่เจียวหรือไข่ดาวมักจะเสิรฟร่วมด้วย
(สำหรับ 2 ท่าน)

ต้มยำกุ้ง

อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
* กุ้งขนาดกลาง 12 ตัว (ปอกเปลือก, ทำความสะอาด)
* เห็ดฟาง 10 อัน
* ตะไคร้ 1 กำ
   (ทุบให้แหลกและหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 2")
* ใบมะกรูด 3 ใบ
* เกลือ 1 ช้อนชา
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกขี้หนู 6 เม็ด (ทุบพอให้แหลก)
* น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง
* ผักชี 1/2 ถ้วยตวง (หั่นหยาบ)
สมุนไพรไทย : ตะไคร้
อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง
2. นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ
3. หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และ้นำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)

ต้มยำกุ้ง

สูตรอาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
[ SPICY SOUP WITH PRAWN AND LEMON GRASS ]
     เครื่องปรุง + ส่วนผสม

 
อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
* กุ้งขนาดกลาง 12 ตัว (ปอกเปลือก, ทำความสะอาด)
* เห็ดฟาง 10 อัน
* ตะไคร้ 1 กำ
   (ทุบให้แหลกและหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 2")
* ใบมะกรูด 3 ใบ
* เกลือ 1 ช้อนชา
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกขี้หนู 6 เม็ด (ทุบพอให้แหลก)
* น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง
* ผักชี 1/2 ถ้วยตวง (หั่นหยาบ)
สมุนไพรไทย : ตะไคร้
อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง
2. นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ
3. หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และ้นำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ
(สำหรับ 2 ท่าน)