วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาศักยภาพทางความคิด และความคิดสร้างสรรค์
(Creative Thinking)
ดร.ศิวาพร นวลตา

   หลักสูตรการพัฒนาความคิด และความคิดสร้างสรรค์นี้พัฒนามาจากหลักสูตร “การแก้ไข
ปัญหาด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้พัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ
สิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประเทศสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากในด้านการพัฒนา
ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
 
บทที่ 1
ความคิดสร้างสรรค์ และจิตใต้สำนึก
ความหมาย และความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความคิด หรือกระบวนการทำงานของสมองอย่างเชื่อมโยงโดยใช้
จินตนาการประยุกต์ที่กว้างไกล มีวิสัยทัศน์ และมีความอดทนอุตสาหะที่จะประดิษฐ์ คิดค้น แก้ไข
ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ และผลงานที่เป็นประโยชน์
ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะ
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่มีพลัง มีคุณภาพ ไม่มีขอบเขตจำกัด และเป็นความคิดเพื่อการ
พัฒนา และแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียด คือ
1. ความคิดที่มีพลัง
พลังความคิดสร้างสรรค์เป็นพลังที่เกิดจากจิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึกของมนุษย์ซึ่งมี
พลังถึง 93% ส่วนอีก 7% ที่เหลือคือ พลังจิตสำนึก ถ้าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ง่ายไม่ซับซ้อน ก็
สามารถเกิดได้จากพลังจิตสำนึก แต่ถ้าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่ซับซ้อน จะเกิดได้ต้อง
อาศัยพลัง
จิตใต้สำนึกร่วมกับหลังจิตเหนือสำนึกผลงานจึงจะปรากฏ
2. ความคิดที่มีคุณภาพ
พลังความคิดที่มีคุณภาพ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เป็นพลังความคิดความสามารถ
นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทางปฏิบัติ มิใช่เป็นความคิดเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย ไร้แก่นสาร
3. ความคิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
สิ่งสำคัญ คือ ผลงานของความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดแบบไม่มีขอบเขต แต่มีวิจารณญาณ
คือ มีการคิดออกนอกกรอบความคิดเดิม ซึ่งเป็นกรอบความคิดใหม่ แต่ก็มีการทดสอบกรอบ
ความคิดใหม่นั้นด้วยเหตุ และผล เพื่อนำไปสู่ผลงานที่สามารถเป็นประโยชน์ได้จริง หรือเพื่อการ
พัฒนาต่อไป
4. ความคิดเพื่อการพัฒนา และแก้ปัญหา
สิ่งสำคัญคือ ผลงานของความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นผลงานที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนา หรือเป็น
แนวทางให้เกิดการพัฒนาต่อไปในอนาคต เช่นการคิดเรื่อง “กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล” ของ
เซอร์ไอแซค นิวตัน ได้พัฒนาไปสู่กฎแห่งการเคลื่อนที่ของดวงดาว หรือการประดิษฐ์เครื่องร่อนของ
พี่น้องตระกูลไรท์ นำไปสู่การมีเครื่องบินที่ใช้ติดต่อคมนาคมกันทั่วโลกทุกวันนี้
ผลงานของความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา เช่น การค้นพบ
หลอดไฟของโธมัส เอดิสัน ช่วยให้โลกนี้มีกลางคืนที่สว่างไสว
สำหรับชาวไทยเรานั้น ก็มีนักคิดสร้างสรรค์ที่ไม่แพ้ใครเช่นกัน อาทิ ดร.อาจอง ชุมสาย
ณ อยุธยา ซึ่งมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงในครั้งที่ร่วมงานกับองค์การนาซ่า (NASA) ของประเทศ
สหรัฐอเมริกา โดยเป็นผู้ออกแบบระบบลงจอดบนดาวอังคารของยานไวกิ้ง และยังเป็นผู้คิดค้น
วิธีการประยุกต์ใช้พลังแห่งจิตมาใช้ในการประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ก็เป็นตัวอย่างของนักคิดสร้างสรรค์ชาวไทยอีกคนหนึ่งที่
สามารถผสมพันธ์กล้วยไม้คุณภาพสูงขึ้นมาใหม่ได้หลากหลายพันธ์
กลุ่มนักคิดสร้างสรรค์ชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คือกลุ่มอาจารย์
และทีมงาน 12 ท่านจากกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ซึ่งเมื่อปี 2541 สามารถสร้างดาวเทียม

ฝีมือคนไทยดวงแรกที่ชื่อ “TMSAT” สำเร็จ และยังส่งขึ้นสู่วงโคจรพร้อมกับดาวเทียมของประเทศ
อื่น ๆ
อีกหลายดวงด้วยจรวด Zenith ที่ฐานยิงจรวด Baikanour ประเทศรัสเซีย ซึ่งโครงการนี้ยังมี
โครงการ
ต่อเนื่องอีก โดยจะสร้างดาวเทียม และยิงขึ้นสู่วงโคจรให้ครบ 4 ดวง เพื่อใช้ประโยชน์ด้าน
การศึกษาเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันโครงการดังกล่าวนี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก
ชาวไทยอีกท่านหนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงได้แก่ หลวงพ่อเจริญ ฐิตะจิโต ซึ่งเป็นน้องชายของ
หลวงพ่อจรูญเจ้าอาวาสวัดถ้ำกระบอก อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ก็เป็นพระนักคิดสร้างสรรค์ที่ไม่
ต่างจากพระผู้เป็นพี่ชายซึ่งโด่งดังมาในเรื่องของการบำบัดผู้ติดยาเสพติดจนได้รับรางวัลแมกไซไซ
ในสาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
หลวงพ่อเจริญแม้ท่านจะมีอายุกว่า 70 ปีแล้วก็ตาม นอกเหนือจากการดูแลกิจกรรมใน
วัดถ้ำกระบอกแล้ว ท่านยังสร้างความตื่นตะลึงให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันไทย โดยการเปิดเผยสูตร
“น้ำมันพระราชทาน” หรือ “สูตร 5 นาที” ซึ่งเป็นการนำน้ำหินมาผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อเติม
เครื่องยนต์ โดยยึดหลักการว่า หินต่าง ๆ สามารถให้พลังงานได้ เมื่อนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ทั่วไป เครื่องยนต์ก็สามารถทำงานได้จริง ซึ่งถือเป็นการคิดค้นนอกกรอบความคิดเดิมที่เชื่อกันมา
ตลอดว่า
น้ำกับน้ำมันไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งหลวงพ่อคิดค้นเรื่องนี้อยู่ถึง 6 ปี โดยมีความเชื่อมั่น
อยู่เต็มเปี่ยมว่าเรื่องนี้ “เป็นไปได้แน่นอน” เนื่องจากท่านได้ทำการศึกษาหินชนิดต่าง ๆ อย่างจริงจัง
มาตั้งแต่ปี 2496 จนทำให้มีความรู้เรื่องหินเป็นอย่างดีทั้งที่ตัวท่านเองมีการศึกษาแค่ระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 1 เท่านั้น
หลวงพ่อได้ให้ข้อคิดของการเป็นนักคิดสร้างสรรค์ว่า “ฉันได้แนวความคิดจากการที่คน
เขาไม่คิดกัน สิ่งที่เขาคิดกันไม่ถึง เราก็คิดให้มันถึงก็หมดเรื่อง จากนั้นก็ตัดสินใจทำไปเลย ไม่ต้อง
ลังเลสงสัย จงมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนคิดค้นได้ และพัฒนาจนสามารถใช้งานได้จริง เช่นการผลิต
สูตร
“น้ำมัน 5 นาที” ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างปกติโดยไม่มีความเสียหายเท่านั้น
แต่ยังช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 2 – 3 เท่าเลยทีเดียว”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง ก็ทรงเป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญยิ่งของปวงชนชาว
ไทยเช่นกัน พระองค์ทรงมีโครงการพระราชดำริที่สำคัญ ๆ เกือบ 3,000 โครงการ เช่น โครงการ
เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรของท่านในยุควิกฤติทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย
เป็นนักคิด
สร้างสรรค์ที่คนไทยทุกคนควรตามรอยพระยุคลบาท

จิตใต้สำนึกคืออะไร
ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ “ความคิดที่มีพลัง” ว่า จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึกของมนุษย์นั้น
มีพลังถึง 93% จากพลังทั้งหมด พลังในที่นี้ไม่ใช่เป็นเพียงพลังทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึง
พลัง
ทางความคิดอีกด้วย จิตใต้สำนึกนั้นมีการทำงานร่วมกับจิตสำนึก และร่างกายดังภาพ
สมอง
ระบบประสาททั้งหลาย
อวัยวะต่างๆทั้งปวง
อวัยวะภายนอก อวัยวะภายใน
ภูมิต้านทาน
ภาพการแสดงการทำงานของจิตใต้สำนึก
จิตสำนึก 7%
จิตใต้สำนึก
93%
ดังนั้น การจะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จึงต้องดึงเอาพลังแห่งจิตใต้สำนึกออกมาใช้
เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดแนวคิดที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ มีพลัง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จาก
ผลงาน
ทางวิชาการหลายต่อหลายชิ้นทั้งในประเทศไทยเอง และต่างประเทศได้ค้นพบวิธีที่จะนำเอา
ศักยภาพแห่งจิตนี้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหลักการที่สำคัญที่สุดก็คือ “การผ่อนคลาย”
ทั้งร่างกาย และจิตใจ เพื่อเปิดทางให้ติดต่อกับจิตใต้สำนึก และสามารถดึงพลังออกมาใช้ได้ มี
เหตุการณ์ที่เรา
ทราบกันดีหลายครั้ง หลายหนที่แสดงให้เห็นว่าความคิดดี ๆ หรือความคิดที่สร้างสรรค์นั้น มักจะ
เกิดขึ้นในสภาวะที่ผู้คิดรู้สึกผ่อนคลายมาก ๆ เช่น อาร์คิมิดิส ซึ่งได้รับคำสั่งจากพระราชาให้ทดสอบ
ความบริสุทธิของมงกุฎทอง ที่พระราชาส่งทองไปให้ช่างทองทำ เนื่องจากทรงสงสัยว่าช่างทองจะ
โกง เอาโลหะอื่นมาผสม เขาเฝ้าครุ่นคิดหาวิธีพิสูจน์ด้วยความเคร่งเครียด จริงจังอยู่หลายวันแต่ก็
ไม่สามารถคิดหาวิธีได้ แต่เขากลับคิดออกในขณะที่กำลัง แช่น้ำอยู่ในอ่างอาบน้ำแบบสบาย ๆ ซึ่ง
นั่นก็คือ
ต้นกำเนิดของทฤษฎียูเรก้า หรือเซอร์ไอแซค นิวตัน ที่กำลังนั่งพักผ่อนยามบ่ายอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล

เมื่อมีผลแอปเปิ้ลตกใส่หัว ทำให้เขาเริ่มได้แนวคิดของทฤษฎีแรงโน้มถ่วงที่เรารู้จักกันเป็นอย่าง
ดีนั่นเอง ในเรื่องของกระบวนการการติดต่อกับจิตใต้สำนึกนั้น เราจะกล่าวถึงในบทต่อไป
 
บทที่ 2
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
การฝึกพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้น สามารถทำได้หลายวิธี คือ
1. การสอนแบบโครงการ (Project Method)
2. การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving)
3. การสอนแบบค้นพบ (Discovery Method)
ความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้โดยการสอน ฝึกฝน และปฏิบัติอย่างถูกวิธี และ
ยังสามารถพัฒนาได้ตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งต่างจากการพัฒนาสติปัญญา (IQ) เพราะการพัฒนา
สติปัญญา หรือ IQ นั้น พัฒนาได้ยากมา หรืออาจพัฒนาไม่ได้เลยในกรณีบุคคลที่มี IQ ต่ำมาก ๆ
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญา (IQ) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน นั่นคือ
ผู้ที่มี IQ สูงไม่ได้หมายความว่าจะมีความคิดสร้างสรรค์สูงไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความคิด
เชิงสร้างสรรค์สูง จะเป็นผู้ที่มี IQ สูงด้วย
นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้ในทางอ้อมโดยการจัดสภาพแวดล้อม และ
สร้างบรรยากาศให้ส่งเสริมความเป็นอิสระในการเรียนรู้ ศึกษารวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูล จนเกิด
ผลงาน หรือสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่มีคุณค่า ทั้งนี้การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ก็จะ
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาด้านสร้างสรรค์เร็วขึ้น
การส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นั้น เน้นการฝึกฝนในด้านกิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การส่งเสริมให้มีการซักถาม โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น และวิเคราะห์ปัญหา
2. การส่งเสริมให้มีการศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์แปลกใหม่ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. การส่งเสริมให้มีการพัฒนาทางจิต และทางกาย โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใต้สำนึก และ
จิตเหนือสำนึก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญ
4. การส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมั่น ในความคิด และผลงานที่ประดิษฐ์คิดค้นได้ และ
ความเชื่อมั่นในความรู้คุณค่าของตัวเองอย่างมีอิสระ ไม่ถูกชี้นำ ไม่กลัวปัญหาที่จะเกิดขึ้น กล้าเสี่ยง
ลองผิดลองถูก
5. การส่งเสริมให้เกิดความอุตสาหะ อดทน มุ่งมั่นในสิ่งที่ตนศึกษาหาความรู้ หรือสิ่งที่
ต้องการประดิษฐ์คิดค้น หรือเพื่อการแก้ปัญหา
6. การส่งเสริมให้เป็นนักสังเกต ค้นคว้า ทดลองแบบวิทยาศาสตร์ และสนใจการ
เปลี่ยนแปลง

7. การส่งเสริมให้เป็นบุคคลที่มีอารมณ์ขัน สดชื่น ชอบธรรมชาติ รักความสวยงาม
รักสิ่งแวดล้อม โรแมนติค
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถพัฒนาให้กับบุคคลทุกกลุ่ม เพศ วัย และอาชีพ
เช่นเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน นักธุรกิจ นักปกครอง
นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ วิศวกร นักประดิษฐ์ ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักเขียน นักประชาสัมพันธ์
ผู้ผลิตสื่อ และโฆษณาเป็นต้น โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาเด็ก
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เจริญสูง เมื่อ 4 ปี 6 เดือน และสามารถส่งเสริมให้พัฒนาต่อไป
ได้อีกเป็นช่วง ๆ โดยใช้หลักการดังนี้
• การให้ความรัก อบอุ่น มั่นคง ปลอดภัยแก่เด็ก
• การให้ความช่วยเหลือ ให้เกิดความเชื่อมั่น โดยการรู้จักแก้ไขปัญหา คิดพัฒนา และต่อสู้
ด้วยตนเองด้วยความอดทน
• การฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต คิด และเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ด้วยการใช้สมองซีก
ขวา และซีกซ้ายประกอบกัน
• การฝึกให้เด็กซักถาม และตอบคำถาม เพื่อให้เกิดความสนใจในสิ่งที่แปลกใหม่ ยาก และ
สลับซับซ้อนในเชิงวิทยาศาสตร์
• การฝึกให้เด็กตัดสินใจ เป็นผู้นำ มีความเชื่อมั่น
• การจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
• การให้รางวัล และคำชมเชย
สถาบันการศึกษากับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
วิลเลียมส์ (Williams) ได้ศึกษาถึงวิธีการสอนของ ครู อาจารย์ ในสถานศึกษา และพบว่า
การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คือ การสอนให้เด็กคิดแสดงความรู้สึก และแสดงออกในวิถีทาง
ของความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
ออสบอร์น (Osborn) กล่าวว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กก็คือ การฝึกให้เด็ก
มีจินตนาการประยุกต์ คือการจินตนาการแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบอยู่ หรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ความคิดสร้างสรรค์จึงมิได้เกิดขึ้นจากความมีเหตุมีผลเท่านั้น แต่จะต้องมี
ความคิดฝัน หรือจินตนาการถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด และมีทางเป็นไปได้ยาก หรืออกนอกกรอบความคิด
เดิม ซึ่ง
ไอน์ส”ตน์ (Einstien) ก็ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “Imagination is more important than knowledge”
เดวิส (Davis) จึงได้เสนอแนวการสอนความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กในสถาบันการศึกษา
ซึ่งมีผลงานวิจัยสนับสนุนคือ

1. การสอนให้เกิดจินตนาการ (Imagination)
2. การสอนด้วยการกระทำ (Doing)
3. การสอนด้วยวิธีระดมพลังสมอง (Brainstroming)
4. การสอนด้วยการเชื่อมโยง และจัดเรียงลำดับความสำคัญของความคิด (Linking and
Ranking)
ครูกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ครูจะมีส่วนช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กในสถาบันการศึกษาอย่างมาก
โดยครูต้องเริ่มต้นเป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่ถูกต้องก่อน จากนั้นก็จะสามารถช่วยแนะนำ สอน และ
พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ โดยครูจะต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
ให้เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความเชื่อมั่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
2. มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ชอบการเปลี่ยนแปลงพัฒนา สนใจเทคโนโลยีสมัยใหม่ และ
แสวงหาประสบการณ์อยู่เสมอ
3. เป็นผู้ที่รักธรรมชาติ สภาพแวดล้อม มีอารมณ์สดชื่น แจ่มใจ
4. มีความคิดในทางบวก
5. พยายามศึกษาค้นหาเทคนิควิธีการเรียนการสอนที่จะส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีความคิด
สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
ดังนี้ ระบบการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาความคิด
สร้างสรรค์ จะต้องมีการพัฒนาครบวงจรทั้งในด้านเนื้อหาหลักสูตร วิธีการสอน ครู อาจารย์
สภาพแวดล้อมในการสอน และการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
1. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการเรียน
ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเรียน ถ้าศึกษาถึงรายละเอียด และสาเหตุของความสำเร็จ
ของเขาแล้ว ก็จะพบว่า ผู้ประสบผลสำเร็จในการเรียนจนสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีคุณค่า
เป็นที่ยอมรับนั้น มิใช่ผู้ที่มีความจำดี แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะบุคลิกของการเป็นนักสร้างสรรค์
สามารถเชื่อมโยงข้อมูล มีกลยุทธ์ในการเรียน และมีอารมณ์แจ่มใส สดชื่น ถ้าเขาประสบปัญหา ผู้ที่
มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะสามารถอดทด อดกลั้น อุตสาหะ ไม่กลัวปัญหา และใช้กระบวนการแก้ไข
ปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยสามารถคิดค้น ประดิษฐ์ เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ยืดหยุ่น ริเริ่ม
ปรับสถานการณ์จนเหมาะสม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นการส่งเสริมภาวะของจิต
ในเด็กวัยเรียนให้มีพื้นฐานที่ดี เตรียมพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง และสติปัญญาไปสู่ความสำเร็จ
ทั้งการเรียน และการดำรงชีวิตในอนาคต เป็นกำลังที่สำคัญช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
เด็กนักเรียนที่ประสบปัญหา ความจำไม่ดี แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ช้า ผลการเรียนไม่เป็นที่
พึงพอใจ ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ หรือเข้าเรียนแล้วไม่สามารถปรับตัว

เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ หรือในกรณีที่ผลการเรียนไม่มีปัญหา แต่มีปัญหาทางด้านอารมณ์
เช่น อารมณ์ร้อน ขี้โมโห เครียด ในการพัฒนาสมอง ก็ต้องพัฒนาสมองซีกขวาให้เหมาะสม
สอดคล้อง
เป็นระบบกับสมองซีกซ้าย และใช้กระบวนการพัฒนากระบวนการทางจิตทั้ง 3 ระดับ คือ จิตสำนึก
จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก จะช่วยแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เขาประสบอยู่ได้ การพัฒนาจะเริ่ม
จากการมีสมาธิดีขึ้น ความจำดีขึ้น เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ยอมรับความ
คิดเห็นของ
ผู้อื่น อารมณ์ดี สดชื่น รู้จักใช้กลยุทธ์ในการเรียน และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนถึงขั้นเกิดความ
หยั่งรู้ด้วยตนเอง และสามารถสร้างสรรค์ผลงานนอกกรอบความคิดเดิมที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง
และบุคคลอื่น
2. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนางานทางวิทยาศาสตร์ และศิลปะ
ในระยะแรกของการศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ก็มีความเชื่อกันว่า ความคิดสร้างสรรค์
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานทางศิลปะ และมนุษย์เท่านั้น ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาไปถึงเรื่องของ
วิทยาศาสตร์ และผู้ที่เป็นศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักเขียน นักวิทยาศาสตร์และอาชีพอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้อง จะไม่ประสบความสำเร็จในการผลิตผลงานเลยถ้าไม่มีความสร้างสรรค์ การพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนกลุ่มนี้จะง่ายมาก เพราะเขาจะอยู่ในสภาพแวดล้อม และคลุกคลีกับ
บุคคลที่เอื้อให้เกิดความคิด
สร้างสรรค์อยู่แล้ว และตัวเขาเองก็อาจจะมีพรสวรรค์อยู่ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ใน
สภาพแวดล้อมดังกล่าว และไม่มีพรสวรรค์ด้านศิลปะ และวิทยาศาสตร์เลย ก็สามารถพัฒนา
กระบวนการทางสมอง และจิตให้เกิดเป็นนักคิดสร้างสรรค์ในทางศิลปะ และวิทยาศาสตร์ได้ แม้จะ
ไม่สูงมากเท่ากับผู้ที่มี
พรรสวรรค์อยู่แล้ว แต่ก็สามารถผลิตผลงานในทางสร้างสรรค์ได้จนเป็นที่พอใจ และสามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้
โมราฟสิค (Moravesik) ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ว่าคือ
การคิดค้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อความมุ่งหมาย 4 ประการ คือ
1. เพื่อการพัฒนาทางเทคโนโลยี
2. เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดรอบ ๆ ตัวของมนุษย์
3. เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์
4. เพื่อประโยชน์ต่อสังคม และโลก
ส่วนความคิดสร้างสรรค์ในทางศิลปะก็ควรจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากอารมณ์
สุนทรียภาพ ความซาบซึ้งในความงาม การเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งถึงธรรมชาติของมนุษย์ และ
สิ่งแวดล้อม ผสมผสานกับการใช้ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องตัว ความคิดยืดหยุ่น และความคิด
ละเอียดลออ จนสามารถเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ อารมณ์ และความสงบนิ่ง ผสมผสาน

เข้าด้วยกัน จนสามารถสร้างสรรค์ผลงาน อาจหยั่งรู้ด้วยตนเอง หรือพัฒนาผลงานมาจากความรู้
ความคิดเดิมที่มีอยู่แล้วจนมีคุณค่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการบริหาร และการปฏิบัติงาน
บุคคลควรมีบุคลิกภาพในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเป็นผู้บริหารที่เป็นผู้นำ เละการเป็นผู้
ประสบผลสำเร็จสูงในการปฏิบัติงาน หรือสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีนักจิตวิทยาได้อธิบายความหมาย
ของบุคลิกภาพในเชิงสร้างสรรค์ไว้ เช่น
เอ็ดวาร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono) กล่าวว่า บุคคลที่มีบุคลิกภาพสร้างสรรค์ คือ
บุคคล
ที่สามารถคิดออกนอกกรอบความคิดเดิม ซึ่งความคิดนอกกรอบนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนว
ทางแก้ไขปัญหา
บารอน และเวลช์ (Baron & Welch) กล่าว ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือผู้ที่ชอบศึกษา
คิดค้น
สิ่งที่ซับซ้อนน่าพิศวง
มาสโลว์ (Maslow) กล่าวว่า บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่น เป็น
อิสระ ชอบการเสี่ยง ไม่ขลาดกลัว
แกริสัน (Garison) พบว่า บุคลิกภาพในเชิงสร้างสรรค์ คือ ผู้ที่มีคุณลักษณะ 5 ประการ
ประกอบด้วย
1. ไม่กลัวปัญหา นอกจากนั้นยังมีความสนใจ และกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาทั้งยาก
และง่าย
2. มีประสบการณ์ความรู้มาก ทันต่อเหตุการณ์
3. สามารถคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาได้หลาย ๆ ทาง เพื่อความคล่องตัว และประสบ
ความสำเร็จได้ง่าย และเร็ว
4. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ
5. ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม และธรรมชาติ
อนัสตาซี (Anastasi) กล่าวว่า บุคลิกภาพในเชิงสร้างสรรค์ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ยอมรับ
ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้ตลอดเวลา และเป็นผู้ที่มีความรู้สึกไวต่อปัญหา และ
การแก้ไขปัญหา
แมคคินนอน (Mackinnon) พบว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ คือผู้ที่สามารถใช้พลังสมาธิ
เพื่อการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง
วอลเลซ และโคแกน (Wallace & Kogan) อธิบายว่า คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือคนที่มี
ความสามารถในการเชื่อมโยงความคิด
ทอแรนซ์ (Torrance) กล่าวว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ คือ ผู้ที่ชอบใช้กระบวนการค้นหา
ปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
๑๐
กิลฟอร์ด (Guilford) กล่าวว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ คือผู้ที่มีความสามารถทางสมอง
ในการยอมรับปัญหา สร้างความคิด จัดระบบความคิด และประเมินความคิด
ดังนั้นการพัฒนาบุคลิกภาพในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการบริหาร หรือการปฏิบัติงาน ก็คือ
ความสามารถในการพัฒนา หรือสร้างผลงาน เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผ่านกระบวนการทางจิต และ
สมอง และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดกรอบความคิดใหม่ที่สามารถนำไป
ใช้ประโยชน์ได้

บทที่ 3
ขั้นตอนในการสร้างความคิดสร้างสรรค์
ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เราจำเป็นจะต้องสร้างความพร้อมให้กับองค์ประกอบ
ที่จำเป็นต่อการมีความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เกิดพัฒนาการที่
รวดเร็ว โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านที่จำเป็นต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มีดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาทางกาย
2. การพัฒนาทางจิต
3. การพัฒนาทางสมอง และความคิด
1. การพัฒนาทางกาย
ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่เข้มแข็ง อยู่ในร่างกายที่แข็งแรง” การจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่มี
พลังย่อมต้องมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วยเช่นกัน การพัฒนาทางกายนั้นมีแบ่งออกเป็น 2 ด้าน
คือ
1. การฝึกพัฒนาพลังกล้ามเนื้อ อวัยวะในและกระดูก รวมทั้งระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างาม ผิวพรรณสดชื่นแจ่มใส ดวงตาเป็นประกาย ใบหน้า
ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีเสนห์ และมีพลังของความเป็นผู้นำ เป็นที่ไว้วางใจ มีเมตตา และอบอุ่น
การฝึกพัฒนาพลังกล้ามเนื้อและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำได้สามารถทำได้โดยง่าย
รวมทั้ง
มีวิธีการต่าง ๆ ให้เลือกหลายวิธี วิธีการที่ทางการแพทย์แนะนำให้ปฏิบัติ เช่น
1. การฝึกกายบริหาร เต้นแอโรบิค
2. การฝึกโยคะ
3. การฝึกวิ่งหรือเดินเพื่อสุขภาพ
4. การรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ สะอาด และมีคุณค่าสูง
๑๑
5. การดูแลความสะอาดร่างกาย และสภาพแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของการฝึกพัฒนาบุคลิกภาพก็สามารถทำได้หลายวิธีเช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ใน
รูปแบบของการฝึกอบรมซึ่งในปัจจุบันก็มีหลักสูตรต่าง ๆ เปิดให้ผู้สนใจเข้ารับการอบรมได้มากมาย
อาทิเช่น
1. การฝึกการสั่งจิตใต้สำนึก
2. การฝึกการแสดงบทบาทสมมุติ
3. การฝึกการควบคุม การนั่ง ยืน เดิน และการเคลื่อนไหวอริยาบทต่าง ๆ
4. การฝึกบุคลิกภาพผู้นำ
5. การรับประทานอาหารเสริม เพื่อการควบคุมน้ำหนัก และเสริมสวย
การฝึกการพัฒนาทางกาย เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องแนะนำในการจะพัฒนาให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะเสริมให้สมอง และจิตทำงานได้ประสิทธิภาพ
สูงขึ้น ในทางตะวันตก การฝึกอบรมของ แอนโธนี่ รอบบินส์ (Anthony Robbins) ก็เน้นการ
เคลื่อนไหว
ร่างกาย เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมีพลัง และช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างามแล้ว
การฝึกอบรมในลักษณะนี้ยังยึดทฤษฎีที่ว่า “การเคลื่อนไหว ก่อให้เกิดอารมณ์” (Emotion is
created by motion) กล่าวคือ หากร่างกายของเราได้ขยับ เคลื่อนไหวในลักษระที่กระปรี้กระเปร่า
และมีพลัง
ก็จะทำให้จิตของเรากระปรี้กระเปร่า และมีพลังไปด้วย แต่หากการเคลื่อนไหวมีลักษณะเฉื่อยชา
หรืออ่อนล้า สภาพจิตใจของเราก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้น ซึ่งหากเราพัฒนากาย ควบค่กับจิตแล้ว
ย่อมก่อให้เกิดพลังมหาศาล เพราะเนื่องจากร่างกาย สามารถก่อให้เกิดพลังแห่งจิตได้ ในทาง
กลับกัน
จิตก็ก่อให้เกิดพลังแห่งกายได้ด้วยเช่นกัน พลังที่จะเกิดขึ้นในตัวเราจึงมากมายมหาศาลไม่มีที่สิ้นสุด
2. การพัฒนาทางจิต
จิตมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. จิตสำนึก (Conscious Mind)
2. จิตใต้สำนึก (Subconscious Mind)
3. จิตเหนือสำนึก (Superconscious Mind)
ฟรอยด์ (Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ศึกษาทางจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis) และศึกษาจิต 2 ระดับคือ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ซึ่งมีสัดส่วนของ จิตสำนึก
ประมาณ 5 % - 7% และจิตใต้สำนึกประมาณ 95% - 93%
คาร์ล จุง (Carl Jung) เป็นนักจิตวิทยาซึ่งเคยเป็นศิษย์เอกของฟรอยด์และเขาได้ศึกษา
การแบ่งระดับของจิตออกเป็น 3 ระดับ คือ จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก
๑๒
คาร์ลได้ศึกษาถึงวิธีการพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้ละเอียดอ่อน สะอาด บริสุทธิ์ จนสามารถ สัมผัส
ได้ถึงจิตระดับสูง (Higher layers of the mind) ของตัวเอง ที่เรียกว่า ตัวตนภายใน (Self
within)
ซึ่ง มาสโลว์ (Maslow) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้ก่อตั้งวิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ และได้กล่าว
ว่ามนุษย์มีความต้องการในระดับต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน แต่ความต้องการสูงสุดของ มนุษย์คือ ขั้น
Self-actualisers คือการเข้าถึงตัวตนและรู้จักตัวตนที่แท้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการ
พัฒนา
จิตจนถึงการสามารถสื่อสาร และนำจิตเหนือสำนึกมาใช้ประโยชน์ได้
􀂾 ารพัฒนาจิตสำนึก
จิตสำนึก คือ จิตที่ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. สัมผัสรับรู้ความรู้สึก หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียงและกาย
2. คิดและสั่งการตามที่จิตต้องการหรือไม่ต้องการ โดยกำหนดออกมาเป็นเป้าหมายอารมณ์
ความนึกคิด
3. ดำเนินการตามอารมณ์ และความรู้สึกนึกคิด ด้วยการกระทำ หรืออาการต่าง ๆ
การพัฒนาทางจิตจะต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาจิตสำนึกก่อน ซึ่งอาจพัฒนาด้วยวิธีการ ต่าง
ๆ เช่น การฝึกสมาธิ การทำบุญ รักษาศีล 5 อยู่เป็นนิจ การฝึกการเสียสละและการให้ ความ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
􀂾 การพัฒนาจิตใต้สำนึก
จิตใต้สำนึก คือ จิตที่ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นคอมพิวเตอร์ ที่มีพลังอยู่มหาศาลถึง
93%-95% และทำงานได้อย่างมหัศจรรย์เหนือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกนี้ โดยทำหน้าที่
1. บันทึกและสะสมข้อมูล
2. ให้กำลังงานที่เป็นพลังมหัศจรรย์
3. ควบคุมพฤติกรรมนิสัย ตลอดจนความเป็นไป ความสำเร็จและความล้มเหลวของชีวิต
การนำจิตใต้สำนึกมาใช้ประโยชน์ จะต้องผ่านกระบวนการผ่อนคลายทั้งร่างกายและ
จิตใจไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจใช้วิธีการสะกดจิต การฝึกสมาธิ การฟังเพลง การวาดภาพ หรือ
การร้องเพลง เป็นต้น แต่ควรจะต้องเป็นการชักนำจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกเข้าสู่คลื่น เบต้าสลับ
กับแอลฟ่า หรือเข้าสู่คลื่นแอลฟ่าระดับแรก
๑๓
จิตสำนึก 7%
- สะสมข้อมูล
- ให้กำลังงาน
- ควบคุมพฤติกรรม นิสัย
ตลอดจนความเป็นไป
- ร่วมกับประสาททั้ง 5
- สามารถคิดสั่งการ
- กำหนดเป้าหมาย
อารมณ์ ความรู้สึก
conscious
Sub-concious
ภาพแสดงลักษณะจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก
จิตใต้สำนึก 93%
􀂾 การพัฒนาจิตเหนือสำนึก
จิตเหนือสำนึก คือ จิตที่ทำหน้าที่หยั่งรู้ได้เอง หรือคือการพัฒนาจิตผ่านขั้นของ
จิตใต้สำนึก (คลื่นเบต้าสลับกับแอลฟ่า) เข้าสู่จิตที่ละเอียดลึกซึ้ง (คลื่นแอลฟ่าหรือคอสมิค)
จนเกิดสภาวะความคิดสร้างสรรค์ หรือเกิดปัญญาหยั่งรู้ได้อย่างฉับพลัน
การพัฒนาจิตเข้าสู่การนำพลังของจิตเหนือสำนึกมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์ คือ การทำให้เกิดสภาวะการผ่อนคลายอย่างสูงสุด จนเกิดการระลึกรู้ จาก
ภายในของตัวเอง (Intuition) หรือเกิดความรู้สึก แว้บ หรือ ว้าว (Wow) เป็นพลัง ความคิดที่
สว่างและ
ผุดขึ้นมาโดยฉับพลัน ในสภาวะที่เราผ่อนคลายอย่างสูงสุดนั้น หรือใน ขณะที่เราได้เข้าไปอยู่ใน
สภาวะที่ชอบ จิตเหนือสำนึกจะมีพลังงานเกิดขึ้นมา เมื่อจิตสำนึกและ จิตใต้สำนึกหยุดทำงานลง
ชั่วขณะหนึ่ง
เมื่อมีการพัฒนาเข้าสู่จิตเหนือสำนึกแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ก็พร้อมที่จะ เกิดขึ้น
ถ้าได้รับการกระตุ้นและทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม ระหว่างกาย จิต และสมอง
การพัฒนาจิตเข้าสู่จิตเหนือสำนึก จะต้องผ่านกระบวนการดังนี้
1. การสร้างความผ่อนคลาย
2. การโปรแกรมจิตให้ละเอียด บริสุทธิ์
3. การพัฒนาความไวของการรับรู้ของจิตให้เกิดการรับรู้อย่างฉับพลัน และสามารถ
ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม
๑๔
4. การพัฒนาจิตจนถึงสภาวะสามารถรับกระแสคลื่นมากมายหลายชนิด เช่น
คลื่นแม่เหล็กโลก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นของพลังงานในจักรวาลจากทุกทิศทุกทาง อย่างไม่มี
ที่สิ้นสุด จนเกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและความเป็นจริงต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นพลังเสริมที่
สำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับมนุษย์
การพัฒนาจิตเหนือสำนึกเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค  ก็คือ การพัฒนาคลื่น
ของจิต
ให้ละเอียด บริสุทธิ์ จนสามารถปรับคลื่นความคิด คลื่นสมอง และคลื่นของจิตให้ประสาน เข้ากับ
คลื่นของจักรวาล และสามารถควบคุมคลื่นต่าง ๆ ของตัวเองให้ประสานกับคลื่นของจักรวาล
ได้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมคลื่นของจักรวาล และนำพลังงานต่าง ๆ รอบตัว มาใช้ให้เป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่า เกิดสภาวะ “แว้บ” หรือ “ว้าว”
อย่างฉับพลัน ซึ่งผู้ที่ควบคุมคลื่นของจักรวาลได้ก็จะควบคุมคลื่นแม่เหล็กโลก และเกิด
ปัญญา มีความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงธรรมชาติ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข สามารถ
สร้างสรรค์สิ่งที่
เป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับธรรมชาติด้วย ซึ่งพระเยซูก็ได้ทรง อธิบายไว้ในพระคัมภีร์ว่า
“เราจะเชื่อกฏเกณฑ์อันละเอียดอ่อนของธรรมชาติที่เรายังไม่เข้าใจ และนึกไม่ถึงได้ ก็
ต่อเมื่อได้แลเห็นและตกตะลึงเท่านั้น” บุคคลที่เข้าใจธรรมชาติและรู้ถึงตัวตนที่แท้จริง ก็จะ
สามารถสร้างสรรค์ทุกอย่างให้เกิดสัมฤทธิผลได้ และเต็มไปด้วยความสุข สำเร็จในการดำรงชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ซึ่งเป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่งก็
เป็นผู้ที่อายุยืน สุขภาพแข็งแรง และอารมณ์สดชื่นอยู่เสมอ แม้จะทำงานหนัก รับประทาน
อาหารไม่เป็นเวลาหรือนอนหลับพักผ่อนน้อยก็ตามเป็นเพราะเขาทำงานด้วยพลังจิต
นั่นเอง
􀂾 กระบวนการผ่อนคลายเพื่อดึงพลังแห่งจิตใต้สำนึก และเหนือสำนึกออกมาใช้ใน
การคิด
สร้างสรรค์
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การจะติดต่อกับจิตใต้สำนึก และเหนือสำนึกนั้น เราจะต้องอยู่ใน
สภาวะ
ที่ “ผ่อนคลาย” เสียก่อน ขั้นตอนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นขั้นตอนในการผ่อนคลายเพื่อที่จะติดต่อ
กับจิตใต้สำนึก และเหนือสำนึกเพื่อดึงพลังที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์ โดยจะมีขั้นตอนต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1. ฝึกปราณ – ปราณ คือพลังงานตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะในดิน น้ำ อากาศ
หรือต้นไม้ จิตใต้สำนึก และเหนือสำนึกจำเป็นจะต้องมีพลังงานพื้นฐานในการทำงาน ปราณ จึง
เปรียบเสมือน “แบตเตอรี่” ของจิตนั่นเอง การฝึกปราณจึงเปรียบเสมือนการ “ชาร์จแบตเตอรี่”
ให้กับจิตของเรา
๑๕
2. เกร็งกำลัง – เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายให้เต็มที่ก่อนเข้าสู่สภาวะ
ผ่อนคลาย
3. ผ่อนคลาย – ปลดกำลังออกจากกล้ามเนื้อทุกส่วนให้หมด เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะ
ที่สบายถึงขีดสุด โดยจะเริ่มผ่อนคลายไล่จากส่วนศีรษะลงไปจนถึงปลายเท้า
4. ชักจูงจิตใต้สำนึก – หลังจากร่างกายผ่อนคลายแล้ว เราก็จะผ่อนคลายจิตใจด้วย เพื่อให้
เข้าสู่สภาวะที่เรียกว่า “ภวังค์” ซึ่งจิตใต้สำนึก และเหนือสำนึกจะสามารถรับคำสั่งของเราได้ โดย
ขั้นตอน
จะเป็นการใช้จินตนาการเพื่อระลึกถึง ธาตุทั้ง 4 ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายของมนุษย์ โดยมีขั้นตอน
ย่อย ดังนี้
4.1 แขน – ขา หนัก (ธาตุดิน) จินตนาการว่า แขน ขา เปลี่ยนเป็นท่อนเหล็กกลมตันที่
หนักมาก โดยเริ่มจากแขนขวา แขนซ้าย ขาขวา และขาซ้าย ตามลำดับ
4.2 มือ – เท้า – ท้อง ร้อน (ธาตุไฟ) จินตนาการว่า มือ เท้า มีขดลวดอุ่น ๆ วางอยู่ โดย
เริ่มจากมือขวา มือซ้าย เท้าขวา เท้าซ้าย และหน้าท้อง ตามลำดับ
4.3 ลมหายใจสบาย (ธาตุลม) จินตนาการว่าลมหายในของเรา ละเอียด เบา สบาย
4.4 หน้าผากเย็น (ธาตุน้ำ) จินตนาการเหมือนบนหน้าผากมีถุงน้ำแข็งวางอยู่
5. จินตนาการว่าลงลิฟท์ – เป็นการชักจูงจิตให้อยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด โดยจะนับ
ถอยหลัง 20 – 0 พร้อมกับจินตนาการว่าพลังกายค่อย ๆ ลดลงไปจนหมด
6. จินตนาการว่าร่างกายเปลี่ยนเป็นผลึกแก้วที่ใส บริสุทธิ์ – เนื่องจากเมื่อสภาวะของจิต
ผ่อนคลายถึงที่สุดแล้ว จิต จะรับข้อมูลทุกอย่างเข้ามา วิธีนี้จะช่วยให้จิตรับรู้ถึงข้อมูลเสีย (ความขุ่น
มัว)
ที่จะเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าสู่จิต
7. สั่งจิตใต้สำนึก – ใส่โปรแกรมให้กับจิต เพื่อนำพลังออกมาใช้ตามความต้องการ ไม่ว่า
จะเป็นในด้านการตั้งเป้าหมาย หรือพลังความคิด
8. นับ 1 – 10 เพื่อปลุกจากภวังค์
ขั้นตอนเหล่านี้ นอกจากจะใช้เพื่อดังพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้แล้ว ยังสามารถ
ดึงศักยภาพของจิตออกมาใช้เพื่อเป้าหมายอื่น ๆ ได้ด้วย อนึ่งในการเข้าสู่สภาวะที่จะสามารถใช้
พลังแห่งจิตได้นั้น เมื่อฝึกตามขั้นตอนไปซักระยะ เราจะสามารถเข้าสู่สภาวะนี้ได้โดยไม่ต้องทำตาม
ขั้นตอนก็ได้
3. การพัฒนาทางความคิด และสมอง
การฝึกพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เข้ารับการอบรมนั้น เราจะต้องฝึกการ
พัฒนาในด้านต่าง ๆ คือ
1. การฝึกให้เป็นผู้ที่ช่างสังเกต มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ รอบด้าน
๑๖
2. การฝึกให้กล้าเผชิญกับสิ่งที่ท้าทาย แปลกใหม่ และมีความพยายามที่จะ ทำสิ่งที่ยาก
และสลับซับซ้อน
3. การฝึกให้มีความอดทน มุ่งมั่น ทุ่มเทกับงานที่ทำอย่างมีความสุข และไม่เบื่อ
หน่าย
4. การฝึกให้มีการศึกษา วิเคราะห์ และทดลองปฏิบัติ เพื่อเสาะหาความจริง ด้วยตนเอง
5. การฝึกให้มีความรัก และความเข้าใจในธรรมชาติ
6. การฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง และคุณค่าของงาน
สร้างสรรค์
7. การฝึกการคิดแบบเชื่อมโยง และสัมพันธ์กัน
8. การฝึกให้มีความคิดริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียด
9. การฝึกให้มีการพัฒนาความคิดทางบวก เพื่อความสุขสำเร็จ
10. การฝึกให้มีการพัฒนาความคิดนอกกรอบอย่างมีวิจารณญาณ
แอนโทนี ร็อบบินส์ ได้กล่าวว่า ไม่มีอะไรจะมีอำนาจเหนือตัวผม นอกเหนือไปจาก
อำนาจที่ผมให้มันผ่านทางความคิดของ จิตสำนึก ของผม
ราล์ฟ วอลโด อีเมอสัน ก็กล่าวว่า ตราบใดที่มนุษย์คิดเขาก็เป็นอิสระ
นอร์แมน วินเซ็นต์ พีล ก็กล่าวว่า เปลี่ยนความคิดของคุณสิ แล้วคุณจะเปลี่ยนโลกของ
คุณได้
􀂾 การฝึกการพัฒนาทางความคิด
คือ การฝึกการคิด เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบที่ไร้ขอบเขต แต่ต้อง มี
วิจารณญาณคือ ไม่ใช่เป็นความคิดที่เพ้อเจ้อ แต่ต้องเป็นความคิดที่สามารถทำให้เกิดเป็น
ประโยชน์
ได้ในระดับต่าง ๆ เช่น เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ หรือโลกของ
เรา เป็นต้น ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการพัฒนาความคิดในด้านต่าง ๆ คือ
1. การพัฒนาความคิดที่ออกนอกกรอบความคิดเดิม จนเกิดเป็นความคิดใหม่
(New Paradign) ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น เดิมเราเชื่อว่า โลก
แบน
ต่อมาก็มีการค้นพบว่าโลกกลม และต่อมาก็พบว่า โลกของเรานั่นเอียงด้วย เป็นต้น
2. การพัฒนาความคิดทางบวก คือ การพัฒนาความคิดทางสร้างสรรค์เพื่อให้
เกิดประโยชน์มิใช่เพื่อการทำลาย และเพื่อสร้างความรัก ความสุขอย่างแท้จริง ให้กับ
มวลมนุษยชาติ ผู้ที่มีพลังความคิดทางบวกมากกว่าทางลบก็จะเป็นผู้ซึ่งมีความสุข อายุยืน
ยาว และมีผลสัมฤทธิ์ของงานสร้างสรรค์ที่เป็นที่ยอมรับสูงมากกว่าผู้ที่สร้างสรรค์ งานด้วย
พลังทางลบ
๑๗
3. การฝึกการคิดแบบเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาของความคิด
อย่างหลากหลาย และเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นไม่มีที่สิ้นสุดและสามารถมีการประยุกต์ ใช้ได้
โดยใช้จิตนาการ (Imagine) เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ
4. การฝึกพลังของความเชื่อมั่น เพื่อเป็นพื้นฐานของแรงผลักด้นให้มีการกล้าคิด
กล้าทำ กล้าเผชิญ กล้าเสี่ยง และกล้ารับผิดชอบ รวมทั้งการกล้ายอมรับผิดเมื่อมีข้อผิดพลาด
เกิดขึ้น รวมทั้งรีบแก้ไขพัฒนาให้ถูกต้องก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ความเชื่อมั่น และชอบทำในสิ่งที่ท้า
ทาย
ยุ่งยาก ซับซ้อน และแปลกใหม่ จะเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง ผลงานที่สร้างสรรค์อย่างไม่จบสิ้น
ผู้ที่เป็นนักคิดสร้างสรรค์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความ เชื่อมั่นในตัวเอง และในผลงานที่ตัวเอง
สร้างสรรค์หรือทำขึ้นมา
5. การฝึกให้มีความคิดริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ
- ความคิดริเริ่ม คือความคิดที่แปลกใหม่ หรือมีการพัฒนาให้ดีขึ้น หรือเป็นการ กล้า
คิดให้แตกต่างจากความคิดเดิม แต่มีความก้าวไกล ล้ำหน้า และมีประโยชน์ ผู้ที่มีความคิดริเริ่มจะ
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และคิดว่าการเปลี่ยนแปลง คือ การพัฒนา มิใช่เป็น การสร้างปัญหา และ
จะต้องเป็น
ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเอง
- ความคิดคล่องตัว คือ ความคิดที่คิดได้หลายทิศทาง หลากหลายในเรื่องเดียวกัน
เพื่อสามารถเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือในหลาย ๆ วิธี เพื่อให้ได้
ประโยชน์สูงสุด เป็นพื้นฐานของการฝึกการคิดออกนอกกรอบอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ที่มี ความคิด
คล่องตัว
จะเป็นผู้ที่ชอบการทดลอง และไม่ท้อถอยต่อความล้มเหลว
- ความคิดยืดหยุ่น คือ ความคิดที่เกิดขึ้นทันที และสามารถดัดแปลงอย่างมี
จินตนาการประยุกต์ หรือความคิดที่เป็นกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จ ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของ
การพัฒนาความคิด และเป็นความคิดที่สามารถสื่อสารนำเอาพลังจิตเหนือสำนึกมาใช้ ประโยชน์ใน
การเกิดภาวะที่เรียกว่า “มีปัญญา หยั่งรู้ ด้วยตนเอง อย่างฉับพลัน”
- ความคิดละเอียดลออ คือความช่างสังเกต รอบคอบ มีการไตร่ตรอง มีสมาธิ
ในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน และอดทน อดกลั้น มุ่งมั่น สู่ความสำเร็จอย่างมี
ความสุข ในงานหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้ที่มีความคิดละเอียดลออ จะเป็นผู้ที่
มีความรู้สึกไวต่อการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบด้าน สามารถฝึกฝนให้เกิดความคิด ละเอียดลออได้
โดยใช้ Sensitivity Training และจะเป็นผู้มีสมาธิดีมีจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอย่างแน่วแน่
􀂾 การพัฒนาทางสมอง
พลังสมองของมนุษย์ เปรียบได้กับพลังของคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก หรืออาจจะ
ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาลก็เป็นได้ นักคอมพิวเตอร์ศาสตร์ได้พบว่า ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดที่สุด
๑๘
ในโลก มีความฉลาดเท่ากับความฉลาดของสมองแมลงวันเท่านั้น ทุกวินาที จะมีข้อมูลต่าง ๆ
ผ่านเข้าไปในสมองอย่างมหาศาล โดยข้อมูลที่ส่งผ่านเข้าไปในสมอง ซึ่งมีเซลล์ประสาทนับเป็น
100 ล้านล้านเซลล์ ด้วยอัตราความเร็วกว่า 250 ไมล์ต่อชั่วโมง เรามีการใช้สมองมากที่สุดเพียง
20% เท่านั้น และสมองใช้พลังงานถึง 20% ของพลังงาน ทั้งหมดในร่างกายของเรา เมื่อเราตื่นและ
มีการใช้สมอง จะมีการส่งพลังงานไฟฟ้าออกมาจากสมองถึง 25 วัตต์ ซึ่งมากพอที่จะเปิดหลอด
ไฟฟ้าให้สว่างได้ทีเดียว แต่สมองของเรามีน้ำหนักแค่เพียง 2% ของน้ำหนักตัวของเรา คือ
หนักประมาณ
1.3 กิโลกรัม (3 ปอนด์) และสมองที่ดี ๆ ของเราสามารถฝ่อลงได้ ถ้าเราไม่ค่อยได้มีการใช้หรือ
พัฒนาสมองของเรา และปัจจุบันก็มีการเชื่อว่าสมองนั้นพัฒนาได้ตลอดเวลา แม้อายุจะเพิ่มมากขึ้น
สมองจะมีลักษณะเหมือนลูกเกาลัดเหี่ยว ๆ สีเหลือง ๆ เทา ๆ มีเส้นเลือดเป็นตาข่าย
มากมาย เมื่อจับดู
ก็จะมีลักษณะนิ่ม ๆ คล้ายวุ้นหรือเยลลี่
สมองเปรียบเสมือนกองบัญชาการที่มีความลึกลับ มหัศจรรย์ สมองมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
แต่มีคุณค่ายิ่งของมนุษย์ สมองจะประกอบด้วย เซลล์สมอง เส้นประสาท เซลล์ประสาท
เนื้อเยื่อเส้นเลือดต่าง ๆ และพลังงานต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างเป็น ระบบและมีความซับซ้อน
ส่วนประกอบที่สำคัญของสมองที่ทำให้มีการรับรู้ และเกิดการพัฒนา เช่น
1. เซลล์พี่เลี้ยง (Glial Cells)
เป็นกาวสมอง เนื่องจากมันทำหน้าที่เป็นกาวยึดสมองให้ติดกันเป็นรูปทรงได้
กาวสมองสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วและง่าย เพื่อติดต่อโยงยึดสมอง เมื่อเซลล์สมอง ถูก
กระตุ้น กาวสมองก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้คนฉลาดขึ้น มีอารมณ์ดี สุขภาพจิตดีขึ้น เพราะกาว
สมองมีหน้าที่
1. ช่วยให้สารเคมีในร่างกายสมดุลย์
2. ป้องกันสารแปลกปลอมเข้าไปในสมอง
3. เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมอง
2. เซลล์สมอง (Neurons)
มนุษย์จะมีเซลล์สมองประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ เซลล์สมองจะเริ่มต้นพัฒนา ในครรภ์
มารดา เมื่อปฏิสนธิได้ 3 สัปดาห์ จนกระทั่งถึง 9 เดือน เซลล์สมองจะทำหน้าที่ เหมือนคอมพิวเตอร์
น้อย ๆ ซึ่งรับส่งข้อมูลได้ประมาณ 50,000 ข้อมูลต่อนาที ในเซลล์สมองก็จะมีเซลล์ประสาท
ซึ่งมีกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาย และเปน็ ตัวสำคัญหนึ่งที่ทำให้ มนุษย์ฉลาดหรือโง่ เพราะมีหน้าที่
1. รับ-ส่งข้อมูล
2. แตกกิ่งก้านสาขา และพ่นน้ำยาเคมีออกมาเป็นปุ๋ยให้สมอง ยิ่งได้รับการ
กระตุ้นให้พ่นปุ๋ยให้สมอง กิ่งก้านสาขาก็จะยิ่งงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ เราจะต้องพยายาม ให้
เซลล์ทุกส่วนของสมองได้ถูกใช้ จะได้มีการงอกงามแตกกิ่งก้านสาขาทั่วทั้งศีรษะ โดยเฉพาะเด็ก
๑๙
ในวัย 0-6 ขวบ
ซึ่งสมองกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถพัฒนาได้ อีกจนอายุถึง 16 ปี หลังจากนั้น
การพัฒนาก็จะลดน้อยลง
3. เอซอน (Axons) และ ไซแนป (Synapse)
เซลล์ประสาท (Neuron) เป็นกองบัญชาการจะมีหน้ารับ-ส่งข้อมูล และย่อยข้อมูลเพื่อการ
จัดระบบ จากนั้นจึงส่งข้อมูลโดยใช้ม้าเร็วซึ่งเป็นเส้นทางสายสำคัญที่ชื่อว่า เอซอน (Axons) และ
แปลงข้อมูลเป็นสารเคมีจอมอัจฉริยะชื่อไซแนป (Synapse) พ่นไปยังเซลล์ อีกเซลล์หนึ่ง
ไซแนป คือ สะพานมิตรภาพที่มีอัจฉริยะอย่างยิ่งที่ทำให้เซลล์หนึ่งติดต่อกับอีก เซลล์หนึ่ง
และทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้และมีความจำดี ข้อมูลจะมีการเดินทางจากเซลล์ หนึ่งไปอีกเซลล์
หนึ่งด้วยความเร็ว 250 ไมล์ต่อชั่วโมง
4.สมองสองซีก
สมองประกอบด้วย 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา
1. สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดเชิงเหตุผล ความจำ ภาษา การคำนวณ การ
วิเคราะห์ เป็นต้น
2. สมองซีกขวา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้เหนือประสาทสัมผัสทั้ง 5 การสังเคราะห์
อารมณ์ ความรู้สึก ดนตรี สุนทรียภาพ ความโรแมนติกต่าง ๆ ความคิดนอกกรอบ และความคิด
เชิงซ้อน เป็นต้น
การสร้างสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
สมองใหญ่-เล็ก หรือ หยักมาก-หยักน้อย ไม่ได้เป็นตัวกำหนดถึงความฉลาดมากหรือ น้อย
ของมนุษย์ แต่อยู่ที่การกระตุ้นให้รู้จักการคิดและให้มีการใช้สมองทุกส่วนทั่วทั้งศีรษะ ทั้ง
ด้านขวาและด้านซ้าย เพื่อให้มีการแตกกิ่งก้านของสมองให้มากขึ้น และถ้าไม่มีการกระตุ้น
เซลล์สมอง เซลล์นั้นก็จะเหี่ยวเฉาตาย หรือฝ่อไปเป็นแถบ ๆ เพราะเซลล์สมองอยู่ได้ด้วยการถูก
พ่นน้ำยาเคมี แล้วมีการนำน้ำยาที่พ่นจากเซลล์หนึ่งมาอีกเซลล์หนึ่งมากระตุ้นให้เซลล์สมองมี
ชีวิต แล้วขยายกิ่งก้านสาขาของเซลล์ประสาทออกไป และการที่เซลล์แต่ละเซลล์มีไฟฟ้า วาบ
ๆ เร็วขึ้น ๆ จะเป็นการไปเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนรู้ในสิ่งที่สลับซับซ้อน และส่งเสริม
ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
นักคิดสร้างสรรค์ต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีก ในการคิดและนำมาสร้างสรรค์ผลงาน หรือ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ มิใช่ว่าจะใช้สมองซีกใดเพียงซีกหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะใช้แตกต่างมาก
น้อยไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผลงานที่ต้องการจะสร้างสรรค์นั้น รวมทั้งสภาวะ ความพร้อมของจิตและ
กายในขณะนั้นด้วย
๒๐
มนุษย์ที่มีไอคิวสูง อาจจะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์น้อยก็ได้ ผู้ที่มีความสามารถทาง
ดนตรี ศิลปะ กีฬา ญาณปัญญา มีความเป็นผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ อาจจะเป็นผู้ที่มีไอคิวปกติก็
ได้
เซลล์ของคนโง่กับคนฉลาด ไม่ได้แตกต่างกันที่ขนาด น้ำหนัก รอยหยัก หรือรูปลักษณ์
แต่แตกต่างกันที่การได้รับการฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบ และมีความสร้างสรรค์เพื่อสอนเซลล์ให้
ฉลาด ทุกครั้งที่มีการกระตุ้นให้คิดก็จะเกิดกาวสมอง หรือเซลล์พี่เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น โดยการแบ่งตัว
และ
ทำหน้าที่เชื่อมโยงเซลล์ประสาท ยิ่งเรียนรู้มากขึ้น การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทก็ยิ่งเพิ่มมาก
ขึ้น แต่จำนวนเซลล์ประสาทไม่ได้เพิ่มมากขึ้น แต่กลับเป็นการ เพิ่มไซแนปให้กับส่วนที่ใช้งานบ่อย
ๆ และลดไซแนปในส่วนที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้งาน เซลล์สมองของคนที่ฉลาดจึงเป็นเซลล์ที่
ได้รับ
การกระตุ้น และสอนให้คิดอย่างสร้างสรรค์และจดจำ และมีสะพานหรือประตูเชื่อมติดต่อกัน
อย่างมีชีวิตชีวา รวดเร็ว และมีพลังงานอย่างต่อเนื่อง
การฝึกสมองให้มีความคิดสร้างสรรค์ จึงต้องเป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
ให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุลย์ และทั่วถ้วนทุกเซลล์ของสมอง โดยฝึกการถาม-ตอบ ฝึก
การ เป็นผู้นำ
ฝึกความเชื่อมั่นกล้าแสดงออก ฝึกการรับรู้อย่างว่องไว ฝึกความไวในการรับรู้ปัญหา และ
แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยตนเอง
การฝึกก็โดยให้ขยันค้นคว้า สะสมข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล คิดอย่างริเริ่ม
คล่องตัว ยืดหยุ่น ละเอียดลออ รวมทั้งการรู้จักคิดร่วมกับผู้อื่น และสามารถมีจินตนาการ
ประยุกต์ สามารถนำความคิดมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
สู่ความสำเร็จด้วยการพัฒนาทางความคิด
การฝึกการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
ปัญหา คือ สิ่งที่ทำให้เราไม่สบายกาย ไม่สบายใจ การแก้ปัญหาอาจใช้หลักการของ
พุทธศาสนา คือ อริยะสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
สำหรับการฝึกความคิดสร้างสรรค์ โดยการแก้ปัญหานั้น สามารถฝึกได้โดย
1. มองหาปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
2. เก็บรวบรวม และศึกษาข้อมูลของปัญหา
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา
5. ทดสอบ และปรับปรุงวิธีการแก้ไขปัญหา
6. ปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
๒๑
การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการแก้ปัญหา จะต้องมีการฝึกดังนี้
1. ฝึกจินตนาการประยุกต์
2. ฝึกการคาดการณ์ หรือคาดเดา
3. ฝึกการมองออกนอกกรอบความคิดเดิม
4. ฝึกการตั้งคำถาม
5. ฝึกการตอบคำถามอย่างสร้างสรรค์
6. ฝึกความไวต่อการรับรู้ปัญหา
7. ฝึกการแก้ปัญหาแบบหลากหลายวิธีการ และมีความสร้างสรรค์
การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการฝึกเล่นเกมส์ต่าง ๆ ก็เพื่อเป็นการกระตุ้น
สมองซีกซ้ายและขวาให้ทำงานร่วมกันอย่างสมดุลย์ ฝึกการจินตนาการประยุกต์ คาดเดาเหตุการณ์
ฉับไว
ต่อการรับรู้ปัญหา และการมองออกนอกกรอบความคิดเดิม ๆ การดึง พลังจิตเหนือสำนึก
(Superconscious) มาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แบบหลากหลาย และนำมา
ประยุกต์ใช้ประโยชน์ หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉับพลัน ถูกต้อง ทันการณ์ ทั้งในเรื่องของ
ปัญหา
การเรียน ครอบครัว สุขภาพ การงาน การเงิน และอื่น ๆ อีกมาก
การเอาชนะอนาคตด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ได้เป็นเพียง “การคิด” ออกมาเท่านั้น ส่วนที่มีความสำคัญมากก็
คือ การเอาความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และประเทศชาติ เพื่อให้ประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ทฤษฎีการเอาชนะอนาคตนี้ เป็นแนวทางการประยุกต์ใช้
พลังทั้งความคิด
สติปัญญา และพลังกาย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ต้องการ หลักที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน หากเราลงมือทำสิ่งใดโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจนก็เสมือน
กับ
การเดินทางไปอย่างไม่มีจุดหมาย และมองไม่เห็นปลายทาง การเดินทางลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้
ผู้เดินทางเหนื่อย และท้อแท้จนไม่สามารถเดินทางต่อไปไหว ดังนั้นการวางเป้าหมายอย่างชัดเจน
จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการดำเนินชีวิต การกำหนดเป้าหมายที่ดีจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน
จิตใจ
ที่แน่วแน่ และกรอบเวลาที่แน่ชัด เพื่อประเมินตนเองตลอดเวลาว่าเราได้เดินทางไปถึงจุดใดแล้ว
และอีกไกลเท่าใดจึงจะสำเร็จ
๒๒
2. ลงมือทำทันที ปรัชญาเมธีชาวจีนกล่าวไว้ว่า “การเดินทางหมื่อนลี้เริ่มจากก้าวแรก”
หากไม่มีการเริ่มต้น ย่อมไม่มีวันถึงเป้าหมาย เมื่อเราเห็นเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้าชัดเจนแล้ว อยู่ที่
ตัวเราเองว่าจะเริ่มก้าวออกไปหรือไม่ หากตั้งเป้าหมายไว้เสียดิบดี แต่ไม่ทำอะไรเลยชั่วชีวิตนี้ก็คง
ไม่บรรลุเป้าหมาย
3. ด้วยจิตวิญญาณที่แน่วแน่มั่นคง ตลอดทางที่ก้าวไปไม่หลงลืมเป้าหมายของตนเอง
ไม่ไขว้เขว ไม่อ่อนไหวไปตามสถานการณ์ และไม่หยุดยั้งจนกว่าจะถึงเป้าหมาย
มีตัวอย่างของบุคคลผู้หนึ่งที่ใช้หลักแห่งการเอาชนะอนาคตทั้ง 3 ประการนี้ ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตมาแล้ว จึงขอนำมากว่าไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นตัวอย่าง
ทุกท่านคงจะรู้จักภาพยนตร์เรื่อง Rambo เป็นอย่างดี ดารานำของเรื่องนี้ก็คือ ซิลเวสเตอร์
สตอลโลน ก่อนที่เขาจะมาโด่งดังสุดขีดในเรื่อง Rambo นั้น ภาพยนตร์ที่ทำให้เขาแจ้งเกิดในฮอลลี่
วูดอย่างเต็มตัวก็คือภาพยนตร์เรื่อง Rocky ความเป็นมาของภาพยนตร์เรื่องนี้คือจุดกำเนิดชีวิต
นักแสดงของเขา สตอลโลน นั้นเป็นผู้ที่มีความผิดปกติเรื่องการพูดมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากในวันที่
เขาคลอดนั้น แม่ไม่ได้คลอดเขาในโรงพยาบาลจึงไม่มีใครคอยช่วยแม่เขา ทำให้ตัวของเขาหล่นหัว
กระแทก
กับพื้น ทำให้เขาไม่สามารถพูดออกเสียงได้ชัดเจน ตั้งแต่เด็กมา เขามีความฝัน และเป้าหมาย
อันชัดเจนว่า ซักวันหนึ่งเขาจะเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงให้ได้ ดังนั้นหลังจากสยบไฮสคูล เขาจึง
เข้าโรงเรียนการแสดงทันที นั่นเป็นจุดที่ความฝันของเขาเริ่มต้นขึ้น คนรอบข้างของเขาต่างก็
ทักท้วง เพราะมองไม่เห็นทางว่าคนที่พูดไม่ชัด จะเป็นนักแสดงที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไร แต่เขาก็ไม่ใส่
ใจ มุ่งมั่น จนเรียนสำเร็จออกมาได้ จากนั้นก็ตระเวนไปตามที่ต่าง ๆ ที่รับสมัครคัดเลือกนักแสดง
แม้จะโดนปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่า เนื่องจากความพูดไม่ชัดของเขา โดยคนดูถูก และแนะนำให้เขาไป
ทำอาชีพอื่น แต่ก็มีความพยายาม จนในที่สุด ก็ได้รับบทครั้งแรกเป็นตัวประกอบ (ได้เล่นประมาณ
2 นาที)
แต่หลังจากนั้นก็ไม่ได้รับโอกาสอีกเลย เขายังคงมุ่งมั่นแม้จะไม่มีใครจ้างให้แสดง หลายคนพูดว่า
“มันไม่มีบทหนังที่เหมาะกับพระเอกพูดไม่ชัดอย่างคุณหรอก” จนกระทั่งแม้แต่ภรรยาก็ตีจากเขาไป
ถึงวันหนึ่งเขาไม่มีแม้แต่เงินที่จะดำรงชีวิตอยู่ เขาถึงกับต้องขายสุนัขที่เลี้ยงไว้ เอาเงินมาต่อชีวิต
ของตนเอง
ในวันที่เขาเกือบจะยอมแพ้ วันหนึ่งเขาได้เข้าไปดูการแข่งขันชกมวยระหว่างมูฮัมหมัด อาลี
กับผู้ท้าชิงคนหนึ่ง ผู้ท้าชิงที่ถูกชกจนล้ม ลุกขึ้นมาสู้อีกครั้งแล้วครั้งเล่า แม้จะรู้อยู่ว่าจะต้องแพ้ก็
ตาม เขากลับมามองตัวเอง และเกิดความคิดที่จะสู้ต่อขึ้นมาทันทีพร้อมพูดกับตัวเองว่า “เมื่อไม่มี
บท
ให้เราเล่น เราก็จะเขียนบทสำหรับเราขึ้นมาเอง” นั่นคือจุดกำเนิดของบทภาพยนตร์เรื่อง Rocky
เมื่อเขียนเสร็จ เขาก็เอาบทไปเสนอตามบริษัทผลิตภาพยนตร์ต่าง ๆ ทุกบริษัทต่างยอมรับว่าเป็น
บทภาพยนตร์ที่ดี และจะรับซื้อไว้ แต่สตอลโลนวางเงื่อนไขไว้ว่า หากจะสร้างภาพยนตร์จากบท
ของเขา เขาจะต้องได้เล่นเป็นพระเอกด้วย บริษัทต่าง ๆ ไม่ยอม แต่ใช้วิธีเพิ่มค่าบทขึ้นไปเรื่อย ๆ
๒๓
จนถึง 5 ล้านดอลลาร์ (ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นเงินจำนวนมาก) แต่เขาไม่ขาย โดยกล่าวว่า
“เงินไม่สามารถซื้อความฝันของเขาได้” กลับไปขายให้บริษัทเล็ก ๆ ที่ยอมให้เขาเป็นพระเองด้วย
เงินเพียง 30,000 ดอลลาร์เท่านั้น ส่วนค่าแสดงนั้นจะได้รับเมื่อหนังได้กำไร สิ่งแรกที่เขาซื้อก็คือ
สุนัขตัวเดิมของเขา ซึ่งคนที่ซื้อไปก็ยอมขายคืนให้ แต่ขอโอกาสเล่นหนังเรื่องนี้ด้วย เมื่อภาพยนตร์
เรื่อง Rocky ออกฉาย ปรากฏว่าทำรายได้มหาศาลทั่วโลก และในปีนั้นเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ
รางวัลออสการ์ถึง 7 สาขา (ในจำนวนนั้นรวมถึงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์
ยอดเยี่ยมด้วย)
ท่าจะเห็นได้ว่า เขายึดหลังทั้ง 3 ประการมาตั้งแต่เริ่มแรก และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ
อย่างงดงาม เมื่อกลับมามองตัวเราเอง ซึ่งมีพลังกาย และพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่เพียบพร้อม
หลักทั้ง 3 ประการนี้จึงเป็นแนวทางที่มีประโยชน์ยิ่งในการนำท่านไปสู่ความสำเร็จทั้งในด้านหน้าที่
การงาน และชีวิตส่วนตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น